สภาพ ความต้องการจำเป็น และแนวทางพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคชีวิตวิถีใหม่ ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
คำสำคัญ:
สภาพปัจจุบัน , สภาพที่พึงประสงค์ , ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน , ยุคชีวิตวิถีใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) ประเมินความต้องการจำเป็น 3) พัฒนาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน รวมจำนวน 333 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ มีจำนวน 4 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .41-.76 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .45-.87 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 (3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยทั้ง 4 ฉบับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ ทุกฉบับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNI Modified)
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
- ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ด้านการส่งต่อ และด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน
- แนวทางพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียน มีผลการประเมินแนวทางพัฒนาโดยรวมพบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก
References
กรดา มลิลา. “การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1,” มหาจุฬานาครทรรศ์. 8, 2 (กุมภาพันธ์ 2564): 29-42.
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22, สำนักงาน. รายงานสรุปผลการสังเคราะห์รายงานประจำปีของสถานศึกษา(Self Assessment Report :SAR) ปีการศึกษา 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. นครพนม: กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา, 2563.
คณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน, สำนักงาน. การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2559
คณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน, สำนักงาน.คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือ นักเรียน ประจำปี 2564. 2564
ไทยพับลิก้า. สำรวจผลกระทบหลังโควิด-19 จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการศึกษาโลก. (ออนไลน์) 2564 (อ้างเมื่อ 16 เมษายน 2564). จาก: https://thaipublica.org/2021/01/exploring-the-effects-of-covid-19-the-turning-point-of-world-education/
พระครูสังฆรักษ์สิงห์ชัย ฐิตธมฺโม และคณะ. “การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19,” บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 8, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2563): 143-154.
ยืน ภู่วรรณ. ดิจิทัลกับชีวิตวิถีใหม่. (ออนไลน์) 2564 (อ้างเมื่อ 14 เมษายน 2564). จาก: https://learningdq- dc.ku.ac.th/course/?c=5&l=1
โรคติดต่อทั่วไป. กอง. การพัฒนาชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ประเทศไทย. (ออนไลน์) 2563 (อ้างเมื่อ 14 เมษายน 2564).จาก: https://ddc.moph.go.th/dcd/news.php?news=13519&deptcode
=dcd&news_views=467
ลัดดาวัลย์ โคตรพิมพ์. แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, 2564.
สุจริยา ขมสนิท. ปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนในกลุ่มอำเภอนิคม พัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา, 2560.
อัญทลียา ยอดมั่น. “สภาพ ปัญหา และแนวทางในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1,” ราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์. 1, 3 (ตุลาคม - ธันวาคม 2560): 22-33.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ