บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4
คำสำคัญ:
การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4
2) เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 จำแนกตามพื้นที่การจัดการศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 จำนวน 268 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามพื้นที่การจัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
ผลการวิจัยพบว่า
- บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ และด้านการบูรณาการหลักสูตร
- การเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 จำแนกตามพื้นที่จัดการศึกษา ในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดย ผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเลาขวัญและอำเภอบ่อพลอย มีบทบาทมากกว่าผู้บริหารในอำเภอหนองปรือ
References
กรีรติกานต์ สุพรรณภูวงษ์. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 2558.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2560.
ทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน), สถาบัน. ประกาศผลสอบ O-NET. (ออนไลน์) พฤษภาคม 2563 (อ้างเมื่อ 2 มิถุนายน 2563). จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/2989
พัฒนาภรณ์ มุสิกะสาร. ผลการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาที่มีต่อคุณลักษณะตาม มาตรฐานครูของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562.
พร้อมภัค บึงบัว. “การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา,” วารสารสันติปริทรรศน์ มจร, 8,3 (พฤษภาคม–มิถุนายน 2563): 968-980.
วิจิตตรา ภาวะโคตร. การศึกษาความพร้อมในการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม, 2561.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 -2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2560.
ศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี, สำนักงาน. ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ปีการศึกษา 2562. กาญจนบุรี: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี, 2562.
ศวง วิจิตรวงศ์. บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนคาทอลิก สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.
สาวิตรี สิทธิชัยกานต์. “รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของโรงเรียนในเครือข่ายศูนย์สะเต็ม ศึกษาภาค,” วิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 9, 1 (มกราคม-มีนาคม 2561): 17-30.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. คู่มือเครือข่ายสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2558.
Best, J. W. Research in education. 4th ed. Englewood Cliff: Prentice Hall, 1981.
Krejcie, R. V. and D.W. Morgan. “Determining sample size for research activities” Educational and Psychological Measurement. 30, 56 (1970): 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ