การดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1
คำสำคัญ:
การดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำแนกตามพื้นที่จัดการศึกษา
ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 311 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า
- การดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ รองลงมาคือ ด้านคุณภาพของผู้เรียน ส่วนด้านที่มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก คือ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ - การเปรียบเทียบการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำแนกตามพื้นที่จัดการศึกษา ในภาพรวม พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1, สำนักงาน. รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562. กาญจนบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1, 2563.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2554.
ทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน), สถาบัน. ประกาศผลสอบ O-NET. (ออนไลน์) พฤษภาคม 2563 (อ้างเมื่อ 2 มิถุนายน 2563). จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/2989
ธงชัย นนทสันต์. การบริหารงานตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 2557.
นริศรา ใบงิ้ว. แนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเวียงกาหลงวนาเทวี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2561.
นเรศ สถิตยพงศ์. “การประกันคุณภาพโรงเรียนยุคการศึกษาประเทศไทย 4.0 และศตวรรษที่ 21,” ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46, 348 (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2561): 11-12.
ประชา ตรีศรี. การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามกรอบมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 2560.
ศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี, สำนักงาน. ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา. กาญจนบุรี: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี, 2563.
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. รายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษาสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เรื่อง แผนปฏิรูปเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก. (ออนไลน์) มีนาคม 2563 (อ้างเมื่อ 2 มิถุนายน 2563). จาก http://www.library2.parliament.go.th
สาธิต จังพานิช. การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในด้านการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559.
สุวรรณ์ เพ็ชรสมบัติ. การศึกษาสภาพการนำมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการบริหารและการจัดการศึกษาไปสู่การปฏิบัติในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปะถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 2555.
Best, J. W. Research in education. 4th ed. Englewood Cliff: Prentice Hall, 1981.
Krejcie, R. V. and D.W. Morgan. “Determining sample size for research activities,” Educational and Psychological Measurement. 30, 56 (1970): 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ