เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงสาหร่าย จิ้งหรีด และหนอนนกยักษ์ เพื่อการทำโปรตีนนวัตกรรมทดแทนสู่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์

ผู้แต่ง

  • จีรนันท์ เขิมขันธ์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520
  • นรธัช ประชุม คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520

คำสำคัญ:

ต้นทุนและผลตอบแทน, แหล่งผลิตโปรตีนทดแทน, วิเคราะห์ทางการเงิน

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงสาหร่าย จิ้งหรีด และหนอนนกยักษ์ เพื่อการทำโปรตีนนวัตกรรมทดแทนสู่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงได้แก่ นักวิจัยผู้ทำการทดลองเลี้ยงสาหร่าย 2 คน นักวิจัยทดลองเลี้ยงหนอนนกยักษ์ และจิ้งหรีด 2 คน อาจารย์ผู้ดูแลโครงการโปรตีนนวัตกรรมทดแทน 1 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยคิดต้นทุนผลตอบแทน ระยะคืนทุน NPV IRR และจุดคุ้มทุน

        ผลการเปรียบเทียบต้นทุนผลตอบแทน และการวิเคราะห์ทางการเงินพบว่า ควรเลือกสนับสนุนส่งเสริมเกษตรกรให้เลี้ยง หนอนนกยักษ์ เพื่อเป็นแหล่งผลิตโปรตีนทดแทน เพราะมีต้นทุนที่ต่ำ ระยะคืนภายใน 3.16 ปี มีอัตราผลตอบแทนสุทธิ (NPV) เป็นบวก เท่ากับ 1,537,288 บาท และอัตราผลตอบแทน (IRR) ร้อยละ 18 รวมถึงมีจุดคุ้มทุนที่ต่ำที่สุด เท่ากับ 1,692 กิโลกรัม

References

ณัฐเสฎฐ์ สร้างทองดี. ต้นทุนและผลตอบแทนการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดเชิงพาณิชย์ กรณีศึกษาภาคกลางของประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2561.

ไทยพับลิก้า. ลุ้นปลด “ใบเหลือง” IUU เมษายนนี้ – ชาวประมงยอม “คุมเครื่องมือประมง-ปิดอ่าวฯ” เพิ่ม หวังพบปลาทูมากขึ้น. (ออนไลน์) 2561 (อ้างเมื่อ 30 เมษายน 2561). จาก: https://thaipublica.org/ 2018/01/iuu-22-1-2561/

ไทยรัฐ. คอนโดหนอนนกยักษ์ 74 วัน กำไร 6,000%. (ออนไลน์) 2559 (อ้างเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2561).จาก https://www. thairath.co.th/content/706480

ศิริวรรณ ศรีสรฉัตร์. “การศึกษาสภาวะการเลี้ยงจุลสาหร่ายที่มีผลต่อปริมาณโปรตีนและไขมันวารสารวิศวกรรมศาสตร์,” วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 7, 2 (2555): 62-71

สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย. รายงานสมาคมฯ. (ออนไลน์) 2560 (อ้างเมื่อ 30 เมษายน 2561). จาก http://www. thaifishmeal.com.

Pumnuan, J. et al. “Nutrient Characterization and Harzarad Identification of Three Selected Insects: Superworm Zophobas Morio, Mealworm Tenebrio Molitor and Cricket Gryllus Bimaculatus: A Future Innovative Protein for Sustainable Aquaculture,” Nutrition and Feeds. World Aquaculture Society Meetings. (25-29 August 2018): 296 -298.

Spiegel, M. V. D., Noordam M.Y. and Fels‐Klerx, H.J. V. D. “Safety of Novel Protein Sources (Insects, Microalgae, Seaweed, Duckweed, and Rapeseed) and Legislative Aspects for Their Application in Food and Feed Production,” Comprehensive Reviews in Food Science and Food Safety. 12, 6 (2013): 662-678.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-07

How to Cite

เขิมขันธ์ จ. ., & ประชุม น. . (2020). เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงสาหร่าย จิ้งหรีด และหนอนนกยักษ์ เพื่อการทำโปรตีนนวัตกรรมทดแทนสู่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 15(3), 53–59. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/245967