การใช้แนวการสอนแบบธรรมชาติเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ความรู้คำศัพท์ และแรงจูงใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • พลวัฒน์ สุวรรณรินทร์ โรงเรียนหมู่บ้านสหกรณ์ 2 ตำบลบ้านสหกรณ์ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ 50130

คำสำคัญ:

แนวการสอนแบบธรรมชาติ, ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ, ความรู้คำศัพท์, แรงจูงใจในการอ่านภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ความรู้คำศัพท์  และแรงจูงใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหมู่บ้านสหกรณ์ 2  ก่อนและหลังการเรียนด้วยแนวการสอนแบบธรรมชาติ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแนวการสอนแบบธรรมชาติ จำนวน 7 แผน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ  แบบทดสอบความรู้คำศัพท์  และแบบวัดแรงจูงใจในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังการเรียนด้วยแนวการสอนแบบธรรมชาติ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ  ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษหลังการเรียนด้วยแนวการสอนแบบธรรมชาติสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีความรู้คำศัพท์หลังเรียนด้วยแนวการสอนแบบธรรมชาติสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3) นักเรียนมีแรงจูงใจในการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียนด้วยแนวการสอนแบบธรรมชาติสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ศึกษาธิการ, กระทรวง. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรง พิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2551.

คุรุรักษ์ ภิรมย์รักษ์. ทำอย่างไรให้ลูกและศิษย์รักเป็นนักอ่าน. วารสารการศึกษา กทม. 23, 3 (ธันวาคม 2541): 23-26.

จิราภรณ์ ปรีชาชน. การจัดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการอ่านตามแนวการสอนแบบธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544.

ฉวีวรรรณ คูหาภินันทน์. การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคา, 2542.

นวพร ชลารักษ์. สภาพการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษของครูไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น. 10, 2 (เมษายน – มิถุนายน 2559): 130-141.

นุรอานี โตะโยะ. ผลการสอนตามแนวคิดวิธีธรรมชาติต่อความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับเตรียมความพร้อม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 24, 1 (มกราคม–เมษายน 2556): 138-156.

สุนทร เซ็นเชาวนิช. เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542.
อนงค์กร ศรีเจริญ. การใช้แนวคิดวิธีธรรมชาติเพื่อพัฒนาความสามารถในการฟัง พูดภาษาอังกฤษ และความสามารถในการรู้คำศัพท์ของผู้เรียนในระดับเตรียมความพร้อม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2548.

Krashen, S.D. and Terrell, T.D. The Natural Approach. Oxford: Pergamon Press, 1983.

Maslow, A.H. Motivation and Personality. Rev. ed In Sahakian, W.S. Introdution to the Psychology of Learning. Chicago: Mc Nally College Publishing Company, 1976.

Richards, J.C. and Rodgers, T.S. Approach and Methods in Language Teaching. Second Edition. Cambridge University Press, 2003.

Thongpinit, U. Motivation and Achievement in Learning English Resulting from Development and Implementation of Lesson Based on The Natural Approach. Graduate School. Chiang Mai University, 1996.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27

How to Cite

สุวรรณรินทร์ พ. (2019). การใช้แนวการสอนแบบธรรมชาติเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ความรู้คำศัพท์ และแรงจูงใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 14(3), 73–80. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/237096