อิทธิพลของการรับรู้การใช้นวัตกรรมที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้ธนาคารออนไลน์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในยุคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • หนึ่งฤทัย ผ่องศรี สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • วีรพงษ์ พวงเล็ก สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ธนาคารออนไลน์, การรับรู้นวัตกรรม, ความตั้งใจในการใช้งาน, การรับรู้ความง่าย, การับรู้ประโยชน์, การรับรู้เสี่ยง, การรับรู้ความไว้วางใจ โควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษานวัตกรรมที่รับรู้ของผู้ใช้บริการธนาคารออนไลน์ เขตกรุงเทพมหานคร 2) ตรวจสอบความตั้งใจที่จะใช้ผู้ใช้บริการธนาคารออนไลน์ในกรุงเทพฯ ในยุคโควิด-19 และ        3) คาดการณ์ความตั้งใจใช้ของผู้ใช้บริการธนาคารออนไลน์ในเขตกรุงเทพฯ โดยวิเคราะห์ผ่านการรับรู้ของนวัตกรรม ซึ่งรวมถึงปัจจัยการรับรู้ที่หลากหลาย (ความง่ายในการใช้งาน ความเสี่ยง ประโยชน์ และความไว้วางใจ) งานวิจัยนี้ประกอบไปด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อความรู้ความเข้าใจในเชิงลึกเกี่ยวกับประชากร ในเขตกรุงเทพมหานครที่ใช้บริการธนาคารออนไลน์ ซึ่งวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงพยากรณ์   ผ่านการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ เพื่อทำนายความตั้งใจ ใช้ธนาคารออนไลน์ให้ โดยเก็บข้อมูลจากตัวอย่าง 345 คน ที่เป็นผู้กรอกแบบสอบถามด้วยตนเองผ่านแบบสอบถามออนไลน์

ผลการศึกษาพบว่า

ความตั้งใจของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครที่ใช้บริการธนาคารออนไลน์ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากผลประโยชน์ที่รับรู้ มีค่าเฉลี่ย 3.34 รองลงมาคือการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานมีค่าเฉลี่ย 3.30 และการรับรู้ความไว้วางใจ มีค่าเฉลี่ย 3.24 ตามลำดับ สุดท้ายผลสัมฤทธิ์ทางการวิจัยได้สร้างแบบจำลองการทำนายโดยใช้แบบจำลองการถดถอยพหุคูณเป็น Y (ความตั้งใจใช้บริการ) = .641 + .322 (การรับรู้ความง่าย) + .329 (การรับรู้ประโยชน์) +.152 (การรับรู้ความไว้วางใจ) โดยปัจจัยทั้งสามที่มีอิทธิพลต่อการพยากรณ์อยู่ที่ ได้ร้อยละ 53.70  (R-Square     = .537)

References

เกริดา โคตรชารี และวิฏราธร จิรประวัติ. “ปัจจัยนำของการรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจเนอเรชั่นวาย,” วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา. 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2556): 47.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. ธุรกิจอื่น (ที่ได้รับอนุญาต) ของธนาคารพาณิชย์. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 1 เมษายน 2564). จากhttps://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/OthFIsSupervison/Pages/default.aspx

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย. MAT Vaccine For Business EP.6 (ออนไลน์) 2563 (อ้างเมื่อ 17 พฤษภาคม 2563). จาก https://www.marketingthai.or.th/mat-vaccine-for-business-ep-6/

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. San Diego, CA: Academic, 1977.

Hanafizadeh, P. et al. “Mobile-Banking Adoption by Iranian Bank Clients,” Telematics and Informatics. 31, 1 (February 2014): 62-78.

Pornte, E.B., E.C. Trujillo and T.E. Rodriguez. “Influence of Trust and Perceived Value on The Intention to Purchase Travel Online. Integrating The Effects of Assurance on Trust Antecedents,” Tourism Management. 47 (April 2015): 286-302.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-08

How to Cite

ผ่องศรี ห., & พวงเล็ก ว. . (2021). อิทธิพลของการรับรู้การใช้นวัตกรรมที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้ธนาคารออนไลน์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในยุคโควิด-19. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 16(3), 221–232. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/251896