ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับระบบการอบรมต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ของผู้ใช้บริการสำนักงานขนส่งจังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • พาฝัน ก้อนคำ สำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
  • อิราวัฒน์ ชมระกา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • ชัชชัย สุจริต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

การรับรู้เทคโนโลยี , สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี , การยอมรับเทคโนโลยี , การต่ออายุใบอนุญาตขับรถ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญของสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี การรับรู้ลักษณะของเทคโนโลยี และการยอมรับการใช้งานระบบการอบรมต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับระบบการอบรมต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล คือ ผู้ที่มาใช้บริการต่ออายุชนิดใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลของสำนักงานขนส่งจังหวัดสุโขทัย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้ตัวอย่างจำนวน 373 คน สุ่มตัวอย่างโดยสุ่มแบบง่าย เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม โดยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ระดับความสำคัญของสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ระดับความสำคัญของการรับรู้ลักษณะของเทคโนโลยีอยู่ในระดับมากที่สุด และระดับความสำคัญของการยอมรับการใช้งานระบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
  2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับ ระบบการอบรมต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ได้แก่ อิทธิพลทางสังคม สภาพสิ่งอำนวยสะดวกในการใช้งาน การให้บริการ ร่วมกันพยากรณ์การยอมรับระบบการอบรมต่ออายุใบอนุญาต ขับรถยนต์ส่วนบุคคล ของผู้ใช้บริการสำนักงานขนส่งจังหวัดสุโขทัย ได้ร้อยละเท่ากับ 38.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการรับรู้ลักษณะของเทคโนโลยี ได้แก่ การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ และการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ร่วมกันพยากรณ์การยอมรับระบบการอบรมต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการสำนักงานขนส่งจังหวัดสุโขทัยเท่ากับ 47.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

การขนส่งทางบก, กรม. กรมการขนส่งทางบก ขยายเวลาต่ออายุใบอนุญาตขับรถและใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถ สามารถใช้ต่อไปได้จนกว่าจะมีการยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมประกาศงดการดำเนินการด้านใบอนุญาตขับรถและใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถ ณ ที่ทำการสำนักงานขนส่งทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน. (ออนไลน์) 2563 (อ้างเมื่อ 3 ธันวาคม 2564). จาก

https://www.dlt.go.th/th/public-news/view.php?_did=2598.

การขนส่งทางบก, กรม. กรมการขนส่งทางบก ปรับการให้บริการ ณ ที่ทำการสำนักงานขนส่ง เข้มข้นมาตรการป้องกัน D-M-H-T-T แนะ!!! ประชาชนใช้บริการออนไลน์ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย โดยไม่ต้องเดินทาง ลดความเสี่ยงลดการแพร่ระบาดโควิด-19. (ออนไลน์) 2564 (อ้างเมื่อ 3 ธันวาคม 2564). จาก https://www.dlt.go.th/th/public-news/view.php?_did=2801.

ขวัญรัตน์ เป่ารัมย์. อิทธิพลของการรับรู้และการมีส่วนร่วมที่มีต่อการยอมรับของประชาชนในงานบริการวิชาการแก่สังคมของสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2560.

งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. (ออนไลน์) 2564 (อ้างเมื่อ 3 ธันวาคม 2564). จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf.

ณัฐพล สุทธิศักดิ์ศรี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน Mobile Banking ของธนาคารออมสินในเขตราชบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2563.

ธนษา ธนเดชะวัฒน์. การยอมรับเทคโนโลยีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิตจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564.

ธัชนนท์ เจษฎานุรักษ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีคิวอาร์เพย์เมนต์ของผู้ใช้บริการกรุงไทย เน็กซ์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2561.

ปฐมาภรณ์ บำรุงผล. การยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพระบบสารสนเทศที่ส่งผลต่อการตั้งใจใช้บริการยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้ยื่นภาษีในธุรกิจภาคอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2563.

ปรางค์ชิต แสงเสวตร. ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บไซต์อินทราเน็ต กฟผ.. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.

ปุณยาพร ศรีจุลัย. การยอมรับการใช้เทคโนโลยีและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในบริการขนส่งอาหารฟู้ดแพนด้า ในจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2564.

พรรณี บุตรยัง. อิทธิพลของทฤษฎีส่วนขยายรวมการยอมรับการใช้เทคโนโลยีและการรับรู้ความเสี่ยง

ต่อความตั้งใจใช้บริการ True Money Wallet ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2561.

รุ่งทิพย์ นิลพัท. คุณภาพการให้บริการการและความพึงพอใจที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับริการโรงพยาบาลเปาโลรังสิต. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2561.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชํานิประศาสน์. ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์, 2562.

สยาม ชูกร. คุณภาพการให้บริการของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านแพ้ว. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559.

สายชล เลิศพิทักษ์ธรรม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจและการใช้โมบายแอปสำหรับเรียกรับบริการผู้รับส่งสิ่งของ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2560.

อำพล ชะโยมชัย. พฤติกรรมองค์การและการบริหารจัดการสมัยใหม่. (ออนไลน์) 2561 (อ้างเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2565). จาก http://ob-modern.blogspot.com/.

อัจฉรา เด่นเจริญโสภณ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560.

โอบนิธิ วชิรานุวงศ์. การยอมรับเทคโนโลยีการชำระเงินผ่านระบบคิวอาร์โค้ด (QR Code). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561.

Davis, F. “Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology,” MIS Quarterly. 13, 3 (September 1989): 319-340.

Guidetti, M., N. Cavazza and M. Conner. “Social influence processes on adolescents’ food likes and consumption:the role of parental authoritativeness and individual self-monitoring,” Journal of Applied Social Psychology. 46, 2 (February 2016): 114-128.

Miles, J. and M. Shevlin. “Applying Regression and Correlation,” Journal of the Royal Statistical Society. Series D (The Statistician). 50, 4 (January 2001): DOI:10.2307/2681241.

Nunnally, J.C. and I.H. Bernstein. Psychometric Theory. (3th ed). New York: McGraz Hill, 1994.

Parasuraman, V. A., V. A. Zeithaml and L. L. Berry. “SERVQUAL : A Multiple – Item Scale for Measuring Customer Perceptions of Service Quality,” Journal of Retailing. 64, 1 (January 2003): 12-40.

Venkatesh, V., et al. “User acceptance of information technology: toward a unified view,” MIS Quarterly. 27, 3 (september 2003): 425-478.

Verma, P. and N. Sinha. “Integrating perceived economic wellbeing to technology acceptance model: The case of mobile based agricultural extension service,” Technological Forecasting and Social Change. 126 (January 2018): 207-216.

Yamane, Taro. Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publication, 2010.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite

ก้อนคำ พ. ., ชมระกา อ., & สุจริต ช. (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับระบบการอบรมต่ออายุใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ของผู้ใช้บริการสำนักงานขนส่งจังหวัดสุโขทัย. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 18(1), 119–133. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/260177