การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ 5 ขั้นตอน ผสมผสานผ่านเพลง สำหรับนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ทักษะการคิดวิเคราะห์, กระบวนการเรียนรู้แบบ 5 ขั้นตอน, เพลงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ หลังเรียน ของกลุ่มที่เรียนโดยที่ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ 5 ขั้นตอน ผสมผสานผ่านเพลง กับกลุ่มที่ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบปกติ สำหรับนักเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน ของกลุ่มโดยที่ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ 5 ขั้นตอน ผสมผสานผ่านเพลง กับกลุ่มที่ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบปกติ สำหรับนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ ๑” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม รวมทั้งสิ้น 60 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชา ภาษาไทย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ 5 ขั้นตอน ผสมผสานผ่านเพลง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที แบบกลุ่มสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า
- คะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์ ของกลุ่มที่ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ 5 ขั้นตอน ผสมผสานผ่านเพลง หลังเรียน สูงกว่ากลุ่มที่ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ 5 ขั้นตอน ผสมผสานผ่านเพลงหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของกลุ่มที่ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ 5 ขั้นตอน ผสมผสานผ่านเพลง หลังเรียน สูงกว่ากลุ่มที่ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ 5 ขั้นตอน ผสมผสานผ่านเพลง หลังเรียน สูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
References
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา, สำนักงาน. ผลการประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงาน, 2564.
นวภัทร สมานพันธ์ และ สิทธิพล อาจอินทร์. “การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือและเพลงเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3,” ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 35, 3 (กรกฎคม-กันยายน 2555): 23-30.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาส์น, 2560.
ศรีบังอร จุ้ยศิริ. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสนใจในวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนวรรณคดีไทยโดยใช้เพลงประกอบการสอนกับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2550.
สุมณฑา ศักดิ์ชัยสมบูรณ์. “ความสำคัญของเพลงในการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ,” มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาปีที่. 16, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565): 86-124.
อภิญญา ศรีสุข. ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 5E ที่ดัดแปลงร่วมกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อทักษะการคิดขั้นสูงและแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, 2562.
Griffee, D. Songs in action. Hertfordshire. Phoenix ELT, 1992.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ