การพัฒนาเว็บฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ สำหรับครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2
คำสำคัญ:
เว็บฝึกอบรม, ครูผู้สอนวิทยาการคำนวณ, ความรู้และทักษะการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 2) พัฒนาเว็บฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความรู้การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 และ 3) ศึกษาความรู้และทักษะการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนวิทยาการคำนวณระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จำนวน 40 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ เว็บฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า
- ผลการวิเคราะห์ด้านความรู้และทักษะของครูผู้สอนวิทยาการคำนวณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร ในภาพรวมทั้งหมด พบว่า ครูขาดความรู้ และทักษะมากที่สุดคือ ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจ ในเนื้อหาวิชาวิทยาการคำนวณทั้ง 3 ด้าน รองลงมา คือ ครูมีทักษะในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้/แผนการจัดการเรียนรู้ และอันดับสุดท้ายครูผู้สอนมีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานและตัวชี้วัด วิชาวิทยาการคำนวณ ตามลำดับ
- ผลการพัฒนาเว็บฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกกำแพงเพชร เขต 2 ได้ดำเนินการออกแบบขั้นตอนต่าง ๆ ของ ADDIE MODEL จำนวน 5 ขั้น ได้แก่ การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผล โดยวิเคราะห์คุณภาพของเว็บฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณในด้านประสิทธิภาพของเนื้อหา ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (x̅ = 4.03) ด้านภาพและภาษา ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( x̅ = 4.46) ด้านประสิทธิภาพของเว็บ ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( x̅ = 4.50) ด้านการออกแบบจอภาพของเว็บ ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ( x̅ = 4.44) ด้านการนำเสนอในภาพรวมอยู่ในระดับดี (x̅ = 4.22) โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ( x̅ = 4.33)
- ผลการศึกษาความรู้การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ พบว่าผลที่ได้จากการทำแบบทดสอบทดสอบก่อนอบรมสามารถทำได้เฉลี่ยเท่ากับ 8.65 และผลที่ได้จากการแบบทดสอบหลังอบรมสามารถทำได้เฉลี่ยเท่ากับ 15.05 ปรากฏว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เนื่องด้วยกระบวนการจัดการฝึกอบรมด้วยเว็บฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความรู้ และการศึกษาทักษะการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ พบว่าผลที่ได้จากการศึกษาทักษะการออกแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ โดยภาพรวมทักษะอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 83.79 เมื่อพิจารณารายกิจกรรมแล้ว พบว่า ผู้เข้าอบรมสามารถออกแบบกิจกรรมให้ มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้/สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์มีความเชื่อมโยงกันอย่างเหมาะสม อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 86.95 รองลงมา ผู้เข้าอบรมสามารถเลือกใช้สื่อ/นวัตกรรม/แหล่งเรียนรู้ในแต่ละกิจกรรม มีความเหมาะสมกับเวลาและการนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง คิดเป็นร้อยละ 85.98 และสุดท้ายผู้เข้าอบรมสามารถประเมินผลตามสภาพจริงและสอดคล้องกับมาตรฐาน การเรียนรู้/ตัวชี้วัด/กิจกรรมการเรียนรู้และครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 84.93 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากการฝึกด้วยเว็บฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความรู้ และทักษะการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณที่พัฒนาขึ้น
References
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2561.
จรัสศรี รัตตะมาน. การพัฒนารูปแบบฝึกอบรมผ่านเว็บ. วิทยานิพนธ์พัฒนศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2551.
ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. ADDIE MODLE. (ออนไลน์) 2556 (อ้างเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564). จากhttp://thanadol_edv.blogspot.com/2010/04/internet.html/
พิมพิไร สุพัตร. การพัฒนาการฝึกอบรมออนไลน์ด้วยระบบการจัดการเรียนรู้ระบบเปิดสำหรับมหาชน เรื่อง การออกแบบสื่ออินโฟกราฟิก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2560.
เยาวนารถ พันธ์ุเพ็ง. “การออกแบบการเรียนการสอนด้วยระบบ e-Learning,” วิชาการมหาวิทยาลัยศรีปทุม ชลบุรี. 9, 4 (2556): 21-28.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (วิทยาการคํานวณ). กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2560.
สุวัฒน์ชัย จันทร์เฮง. การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสาน สำหรับครูผู้ฝึกนักศึกษาพิการทางสายตาเพื่อพัฒนาทักษะด้านการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.
อภิณห์พร สถิตย์ภาคีกุล. “การออกแบบการเรียนการสอน: ทักษะเพื่อความสำเร็จของครู,” Narkbhutparitat Journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. 10, ฉบับพิเศษ (มิถุนายน - สิงหาคม 2561): 107-115.
อมรรัตน์ ศรีส่ง. การพัฒนาชุดฝึกอบรมแบบผสมผสาน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมระบบสารสนเทศสำหรับครูโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.
Relan, A. and B. B. Gillani Web-based instruction and the traditional classroom: Similarities and differences. New Jersey: Educational Technology Publication, 1997.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ