การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำ ตามแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • นันทิยา กุลแก้ว สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • นิศานาจ โสภาพล สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ปิยาภรณ์ พิชญาภิรัตน์ สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความสามารถในการอ่านออกเสียง , การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านออกเสียงคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเขื่องใน (เจริญราษฎร์) กลุ่มสถานศึกษาที่ 8 เขื่องใน 1 อำเภอเขื่องใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำ ตามแนวทางการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  2) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านออกเสียงคำ ตามแนวทางการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้สมองเป็นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิจัยข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การทดสอบทีแบบกลุ่มสัมพันธ์

              ผลการวิจัยพบว่า

  1. แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำ ตามแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.05/81.11
  2. ความสามารถในการอ่านออกเสียงคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กิติยาพร เนื้ออ่อน. การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2552.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. รายงานผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (Reading Teast: RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563. (ออนไลน์) 2564 (อ้างเมื่อ 10 เมษายน 2564). จาก http://180.180.244.56/ExamWeb/FrLogin.aspx?ReturnUrl=%2fExamWeb

%2fDefault.aspx.

โฉมยงค์ มิมาชา. “การพัฒนาชุดการเรียนรู้ทักษะการอ่านและเขียนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1,” บัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ 9, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557): 10-16.

นันทนา คำสุข. การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2552.

นิลาภรณ์ ธรรมวิเศษ. การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคําในมาตรา แม่กด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2546.

ปราณี อยู่คง. การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านเพื่อจับใจความวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี, 2546.

ประหยัด จิระวรพงศ์. “การเรียนรู้ตามการพัฒนาของสมอง (Brain-Based Learning: BBL),” วิชาการเทคโนโลยีการศึกษามหาลัยบูรพา. 2, 1 (กันยายน 2549): 6-12.

มงคล จำศรี. การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยเพื่อจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพน์ครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2547.

วิชาการ, กรม. แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2546

วิชาการ, กรม. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2553.

วรรณี โสมประยูร. การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช, 2544.

ศิริรัตน์ บุตรแสนโคตร. การพัฒนาผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 ที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้บูรณาการจัดกิจกรรมตามแนวทาง Brain Based Learning. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2554.

สุมาลี ชัยเจริญ, อิศรา ก้านจักร และวรกิต วัดเข้าหลาม. การสังเคราะห์โมเดลนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ทางสมองของผู้เรียน โดยใช้ Brain-Based Learning. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551.

Lowery, Eleanor Blodwyn. “The Effects of Four Drills and Practice Time Units on the Decoding Performances of Student with Specific Learning Disabilities,” Dissertation Abstracts International. 39, 2 (1978): 817-A.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26

How to Cite

กุลแก้ว น. ., โสภาพล น. ., & พิชญาภิรัตน์ ป. . (2022). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำ ตามแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 17(3), 155–165. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/258768