การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สอนแบบบูรณาการของ Murdoch โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความและการเขียนภาษาอังกฤษเป็นสื่อ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความและการเขียนภาษาอังกฤษ , วิธีการสอนแบบบูรณาการของ Murdochบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สอนแบบบูรณาการของ Murdoch โดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความและการเขียนภาษาอังกฤษเป็นสื่อ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการอ่านและการเขียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความและการเขียนภาษาอังกฤษ โดยประยุกต์ใช้วิธีการสอนแบบบูรณาการของ Murdoch สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลบ้านเหนือเขมราฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความและการเขียนภาษาอังกฤษโดยประยุกต์ใช้การสอนแบบบูรณาการของ Murdoch สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 6 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
- ชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษโดยประยุกต์ใช้วิธีการสอนแบบบูรณาการของ Murdoch สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.28/82.22
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษโดยประยุกต์ใช้วิธีการสอนแบบบูรณาการของ Murdoch สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กาญจนา จําปีหอม. “การพัฒนาชุดฝึกเขียนเพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนท่านาฝาย จังหวัดเลย,” ศรีล้านช้างปริทรรศน์. 4, 1 (มกราคม–มิถุนายน): 2561.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์, 2545.
ผะอบ โปษะกฤษณะ. ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย (การอ่าน การเขียน การพูด การฟัง). พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพฯ: บำรุงสาสน์, 2538.
รฐา แก่นเนินสูง. การพัฒนาการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวตามแนวการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ดอกซ์ (MIA). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.
รัตยา ผลเรือง. การใช้แนวคิดบูรณาการของเมอร์ด็อคเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2562.
เรวดี หิรัญ. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านเพื่อความเข้าใจในภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยการตั้งคําถามและโดยการยอเรื่อง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533.
วราภรณ์ พูลสวัสดิ์. “การจัดการเรียนรู้แบบ MIA เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา,” ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 21, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564): 83.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2551.
สุมาลี เพชรคง. “ผลของการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4,” ศึกษาศาสตร์ มสธ. 13, 1 (มกราคม–มิถุนายน 2563): 69.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ