ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อรพินท์ วงศ์ก่อ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • รัชนิกร วรรณสถิตย์ คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การกำกับดูแลกิจการที่ดี , การวางแผนภาษี , บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำหรับปี พ.ศ. 2561-2563 จำนวน 271 บริษัท โดยทำการศึกษาการกำกับดูแลกิจการที่ดีจาก 3 ตัวแปร ประกอบด้วย คะแนนการกำกับดูแลกิจการที่ดี ขนาดของกิจการ และความสามารถในการทำกำไร วัดจากอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ สำหรับการวางแผนภาษีใช้การวัดค่าจาก 3 อัตราส่วน ประกอบด้วย อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริง อัตราภาษีเงินได้งวดปัจจุบันต่อกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน และอัตราส่วนภาษีเงินได้งวดปัจจุบันต่อสินทรัพย์รวม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุ

    ผลการวิจัยพบว่า

     การกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริง อัตราภาษีเงินได้งวดปัจจุบันต่อกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน และอัตราส่วนภาษีเงินได้งวดปัจจุบันต่อสินทรัพย์รวม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กุลยา จันทะเดช. “หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี พ.ศ. 2560,” วิชาชีพบัญชี. 14, 41 (มีนาคม 2560): 4-10.

สุชาดา ศรีสกลกิจ. ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558.

สุเมธ ศิริคุณโชติ และคณะ. การภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, 2561.

สัตยา ตันจันทร์พงศ์. “อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย,” วิชาชีพบัญชี. 10, 28 (สิงหาคม 2557): 5-18.

ธัญพร ตันติยวรงค์. การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ วางแผนภาษีและความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนภาษีกับมูลค่าของกิจการ: หลักฐานเชิงประจักษ์จากประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2552.

Chen, K.Y., R.J.Eder and Y.M. Hsieh. “Corporate Governance and Earnings Management: The Implications of Corporate Governance Best-Practice Principles for Taiwanese Listed Companies,” Journal of Contemporary Accounting & Economics. 3, 2 (July 2007): 73–105

Dyreng, Hanlon M. and E.L. Maydew. “Long-Run Corporate Tax avoidance,” The Accounting Review. 83, 1 (January 2008): 61-82.

Gupta, S. and K. Newberry. Determinants of the Variability in Corporate Effective Tax Rates: Evidence from Longitudinal Data. 1 (August 1997): 70-95

Gravelle, J. G. “International corporate tax rate comparisons and policy implications,” Congressional Research Service (CRS) Report. (January 2014): 1-35

Kim, K.A. and Limpaphayom. “Taxes and Firm Size in Pacifi c-Basin Emerging Economies,” Journal of International Accounting, Auditing&Taxation. 7, 1 (October 1998): 47- 68.

Minnick, K. and T. Nonga, “Do corporate governance characteristics influence tax management?,” Journal of corporate finance. 16, 5 (April 2010): 703-718.

Omer, T. C., K. H. Molloy and D. S. Ziebart. “An Investigation of the Firm Size Effective Tax Rate Relation in the 1980s,” Journal of Accounting, Auditing & Finance. 8, 2 (January 1993): 167–182.

Richardson, G. and R. Lanis. “Determinants of the variability in corporate effective tax rates and tax reform: Evidence from Australia,” Journal of Accounting and Public Policy. 26, 6 (July 2007): 689–704.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26

How to Cite

วงศ์ก่อ อ., & วรรณสถิตย์ ร. . (2022). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 17(3), 73–86. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/256599