กลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • พิมล วิเศษสังข์ บัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ , การประกันคุณภาพการศึกษา , การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของการปฏิบัติตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการปฏิบัติตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ และ 3) เพื่อสร้างและประเมินกลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมในจังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงบรรยายแบบผสานวิธี ตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูของโรงเรียนที่ผ่านการประเมินคุณภาพรอบ 3 ระดับดีขึ้นไป ในจังหวัดศรีสะเกษ รวม 522 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารและครู ในโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการปฏิบัติตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก รวม 8 คน และผู้เชี่ยวชาญสาขาการบริหารการศึกษาและการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 21 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ

        ผลการวิจัยพบว่า

  1. โรงเรียนประสบความสำเร็จของการปฏิบัติตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด      
  2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการปฏิบัติตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมี 6 ปัจจัย ซึ่งเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1) การจัดโครงสร้างขององค์การ 2) การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของครูและบุคลากร 3) บรรยากาศในการทำงาน 4) เทคโนโลยี วัสดุ และอุปกรณ์ 5) ชุมชน สังคม และ 6) การมีส่วนร่วม การปรึกษาหารือ โดยการจัดโครงสร้างขององค์การ การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของครูและบุคลากร เทคโนโลยี วัสดุ และอุปกรณ์ ชุมชน สังคม และการมีส่วนร่วม การปรึกษาหารือ
  3. กลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมในจังหวัดศรีสะเกษ ได้กลยุทธ์และมาตรการของแต่ละ  กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 จัดโครงสร้างองค์การเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนอย่างชัดเจน กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในงานที่ปฏิบัติอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง กลยุทธ์ที่ 3  นิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง กลยุทธ์ที่ 4 แสวงหาเทคโนโลยีที่มีคุณภาพมาใช้ในการบริหารจัดการ และกลยุทธ์ที่ 5 แสวงหาความร่วมมือเพื่อการบริหารจัดการทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน และผลการประเมินกลยุทธ์ พบว่า โดยรวมกลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมในจังหวัดศรีสะเกษ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กนกกาญจน์ ศรีสุรินทร์, ศุภชัย จันทร์งาม และวิมลมาศ รัตนะ. “ปัจจัยส่งผลต่อความสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะวิชา มหาวิทยาลัยราชธานี,” ราชพฤกษ์. 14, 3 (กันยายน–ธันวาคม 2559): 72-79.

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1, สำนักงาน. สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (2554-2558) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. ศรีสะเกษ: กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1, 2559.

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2, สำนักงาน. สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ปี 2554-2558. ศรีสะเกษ: กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2, 2559.

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3, สำนักงาน. สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ปี 2554-2558. ศรีสะเกษ: กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3, 2559.

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4, สำนักงาน. สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ปี 2554-2558. ศรีสะเกษ: กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4, 2559.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2561.

เจนจบ หาญกลับ. “ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร,” วิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 17, 2 (กรกฎาคม–ธันวาคม 2559): 123-134.

เทวัน เงาะเศษ. “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดาเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13,” วิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 13, 2 (กรกฎาคม–ธันวาคม 2560): 276-292.

วรางคณา ผลประเสริฐ. การจัดการเชิงกลยุทธ์ในการบริหารโรงพยาบาล. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554.

สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว. “กลยุทธ์การบริหารการประกันคุณภาพของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา,” Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8, 2 (พฤษภาคม–สิงหาคม 2558): 681-699

สำรวม คงสืบชาติ. ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ศูนย์วิทยบริการ, 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-27

How to Cite

วิเศษสังข์ พ. (2022). กลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 17(2), 208–220. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/256553