รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู
คำสำคัญ:
รูปแบบ , ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง , ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวแปรของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาตัวแปรของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดเลย จำนวน 291 คน โดยกำหนดตามตาราง Krejcie & Morgan จากนั้นทำการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มตามขนาดโรงเรียน และทำการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาพหุกรณี ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดเลย จำนวน 3 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ขั้นตอนที่ 2 การสนทนากลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเกี่ยวข้องเพื่อยืนยันข้อมูล ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสามารถพยากรณ์ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 2) ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา 3) ด้านการเป็นแบบอย่าง และ 4) ด้านการสร้างและการสื่อสารวิสัยทัศน์
- รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ชื่อของรูปแบบ 2) หลักการและความสำคัญของรูปแบบ 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 4) องค์ประกอบของรูปแบบ 5) วิธีการนำรูปแบบไปใช้ และเงื่อนไขความสำเร็จ ประกอบด้วย 11 องค์ประกอบการพัฒนา 31 วิธีการปฏิบัติ 41 เงื่อนไขความสำเร็จ
- ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กัญญารัตน์ สุขแสน. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต, 2564.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. “การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน,” Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 10, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2560): 1342-1354.
ฐิติพงศ์ คล้ายทอง. พฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 2547.
พัชรินทร์ สงครามศรี. “การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 20,” มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 12, 1 (พฤษภาคม 2561): 161-173
พิทูล อภัยโส. โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่มุ่งสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2557
พูลศักดิ์ จิตสว่าง. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา, 2561.
รุ่งทิพย์ เข็มทิศ. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.
รุ่งอรุณ หงษ์เวียงจันทร์. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 2560.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. ภาวะผู้นำ (Leadership) ทฤษฎีการวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพแหง่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.
วัชรพล โพธิ์พูนศักดิ์. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงขององค์กรรัฐวิสาหกิจ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยชินวัตร, 2563.
ศศิธร รักษาชนม์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2557.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560.
สุกัญญา พูลกสิ. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและวัฒนธรรมองค์การตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี, 2557.
สุชาดา รังสินันท์. เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลงหน่วยที่ 10 : ผู้บริหารกับการเปลี่ยนแปลง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550.
สุเทพ สังกะเพศ. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี, 2550.
สุมาลี มาเจริญ. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจรีไซเคิลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 2564.
อารีรัตน์ จุ้มใหม่. รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ทางสังคมในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2560.
Andriani, S., N. Kesumawati and M. Kristiawan . “The Influence of The Transformational Leadership And Work Motivation On Teachers Performance,” International Journal of Scientific & Technology Research. 7, 7 (July 2018): 19-28.
Bass, B. M. and Avolio. B. J. Improving organizational effectiveness through transformational leadership. Newbery Park, CA: Sage, 1994.
Craft, R. C. “Community attitudes toward education and levels of participation in school affairs,” Dissertation Abstracts International. 49, 7 (February 1978): 1633-A.
Grossi, D. L. “The role of superintendents in engaging the public in defining the goals of education,”Dissertation Abstracts International. 61, 11 (November 2001): 4241 - A.
Zhu, W., B. J. Avolio and F. O. Walumbwa. “Moderating role of follower characteristics with transformational leadership and follower work engagement,” Group & Organization management. 34, 5 (March 2009): 590-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ