ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่คุณภาพ สำนักงานศึกษาธิการภาค 14
คำสำคัญ:
นโยบายการบริหาร, โรงเรียนประถมศึกษา, สำนักงานศึกษาธิการภาค 14บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่คุณภาพ สำนักงานศึกษาธิการภาค 14 2) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่คุณภาพ สำนักงานศึกษาธิการภาค 14 3) ประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่คุณภาพ สำนักงานศึกษาธิการภาค 14 ตัวอย่างในการวิจัย ระยะที่ 1 ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานศึกษาธิการภาค 14 จำนวน 335 คน การศึกษาพหุกรณี จำนวน 1 โรงเรียน การสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 กลุ่มเป้าหมายโดยวิธีเลือกแบบเจาะจงเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมิน และระยะที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัจจุบันการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานศึกษาธิการภาค 14 ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก ( x̅ = 4.08, S = .76) และแนวทางการพัฒนา 1) ด้านคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนควรจัดระบบที่มีความหลากหลายในการปฏิบัติมีการระดมทรัพยากรในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนเพื่อให้มีคุณภาพ 2) ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ควรมีการบริหารอย่างโปร่งใส มีการจัดระบบบริหารจัดการที่ทำให้ชุมชนเกิดความศรัทธาต่อผู้บริหารและครู 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แชร์ประสบการณ์ในการทำงานระหว่างครู จัดครูและบุคลากรให้เหมาะสมตรงตามความถนัดและครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
- ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่คุณภาพ สำนักงานศึกษาธิการภาค 14 ประกอบด้วย 1) ด้านคุณภาพผู้เรียน มุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยเฉพาะด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ด้านการสร้างนวัตกรรม ความสามารถในการสื่อสาร 2) ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ ส่งเสริมให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ครูบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
- ผลการประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสู่คุณภาพ สำนักงานศึกษาธิการภาค 14 ที่พัฒนาขึ้นด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ของภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
References
กฤษณพงศ์ กีรติกร. อุดมศึกษาไทย เวทีไทยเวทีโลก. กรุงเทพฯ: สถาบันคลังสมองของชาติ กระทรวงศึกษาธิการ, 2557.
จรูญศักดิ์ พุดน้อย และศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. “ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,” ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 8, 2 (กรกฎาคม–ธันวาคม 2559): 256-269.
นูซี มะเด็ง. “รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแห่งความสุขโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 39 จังหวัดนราธิวาส,”
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 17, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2564):1-17.
นัสเซอร์อาลี เกปัน. ประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม อันซอเรียะห์อัดดีนียะห์ จังหวัดสตูล. วิทยาพิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 2562.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์, 2545.
บุญชม ศรีสะอาด. วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย. กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2556.
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, สํานักงาน. แผนปฏิบัติราชการประจําปงบประมาณ 2560 ของสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สํานักนโยบายและยุทธศาสตร, 2559.
มนต์นภัส มโนการณ์. “การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่,” วิชาการศึกษาศาสตร์, 19, 1 (มกราคม–มิถุนายน 2561): 1-15.
ยงยุทธ ทรัพย์เจริญ. การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ในสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา. ดุษฎีนิพน์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2555.
เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค, 2560.
วิทยากร เชียงกูล. รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: ดีการพิมพ์, 2559.
อร่าม วัฒนะ. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 2561.
อำไพ นงค์เยาว์. “รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21,” การวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน. 10, 1 (มกราคม-มีนาคม 2560): 132-143.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ