การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสำหรับการเรียนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การเรียนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสำหรับการเรียนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ปีการศึกษา 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2559 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2 ) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2559 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2559 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ที่เรียนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์ จำนวน 58 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบก่อนเรียน 2) แบบทดสอบหลังเรียน 3) เอกสารการสอนปรับพื้นฐาน และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือกระทำโดยการหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ซึ่งเท่ากับ 0.91และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟ่า ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2559 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจต่อการเรียนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2559 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ ในระดับมาก (= 4.14 ,SD = .44) เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากทุกประเด็น กล่าวคือ ด้านสถานที่ (
= 4.25 , SD = .69) ด้านผู้สอน (
= 4.23, SD = .56) ด้านการวัดและประเมินผล (
= 4.14, SD = .63) ด้านสื่อการเรียนการสอน (
= 4.11, SD = .55) และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ (
= 3.99, SD = .61) ตามลำดับ
References
คณะกรรมการการอุดมศึกษา, สำนักงาน. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์, 2552.
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554. นนทบุรี: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2554.
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. รายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554). นนทบุรี: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2557.
ทักษิณา เครือหงส์. การเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. รายงานการวิจัย. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2551.
นันทวดี วงษ์เสถียร. การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนรายวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษทางระบบสารสนเทศ ด้วยการเรียนการสอนแบบโครงงาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 4, 2 (2552): 111-122.
เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล. การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย. 10, 2 (2557):24-28.
รุจิรา คงนุ้ยและคณะ. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย. 11,4 (2559):15-21.
วิเชียร เกตุสิงห์. ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย: เรื่องง่ายๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. ข่าวสารการวิจัย การศึกษา. 18, 3 (2538): 8–11.
วิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, สถาบัน.การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2557.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานรายวิชาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2551.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ