การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการใช้โปรแกรมข้อมูลและสารสนเทศ นักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29
คำสำคัญ:
สภาพและปัญหา, โปรแกรมข้อมูลและสารสนเทศบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการใช้โปรแกรมข้อมูลและสารสนเทศนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อสภาพและปัญหาการใช้โปรแกรมข้อมูลและสารสนเทศนักเรียนในสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งและขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือสถานศึกษาจำนวน 67 โรงเรียน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t และค่า F ผลการวิจัยพบว่า 1. สถานศึกษาใช้โปรแกรมสารสนเทศนักเรียนในสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการใช้โปรแกรมสารสนเทศนักเรียนในสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก 3 ขั้นตอน และระดับปานกลาง 3 ขั้นตอน สถานศึกษามีปัญหาการใช้โปรแกรมข้อมูลและสารสนเทศนักเรียนในสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการใช้โปรแกรมสารสนเทศนักเรียนในสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก 2.ผู้บริหารสถานศึกษาและครูเห็นว่าการใช้โปรแกรมข้อมูลและสารสนเทศนักเรียนในสถานศึกษาจำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3.ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความคิดเห็นต่อปัญหาการใช้โปรแกรมข้อมูลและสารสนเทศนักเรียนในสถานศึกษาโดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนต่างมีความคิดเห็นต่อสภาพการใช้ข้อมูลโดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5.ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนโดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 6.ผู้บริหารสถานศึกษาและครูให้ข้อเสนอแนะว่า 1) ควรบูรณาการทุกโปรแกรมให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ควรจัดบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะ 3) การใช้โปรแกรมสารสนเทศนักเรียนในสถานศึกษาควรมีการนิเทศตรวจสอบการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ 4) ควรมีการเพิ่มเวลาในการจัดทำข้อมูลให้มีความสมบูรณ์ และ 5) ควรเพิ่มเครือข่ายในการทำงานเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบมากขึ้น
References
จันดา ม่วงดี. การพัฒนาการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนโนนศรีดาวิทยา อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม , 2547.
ดวงรัชต์ พงษ์ประเสริฐ.การนำเสนอแนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษา สังกัด สำนักเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2552.
ทดสอบทางการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนัก.การจัดระบบบริหารและสารสนเทศในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:สำนักทดสอบทางการศึกษา, 2553.
นิตยา ทับพุ่ม.ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันราชภัฏเทพสตรี, 2544.
พรทิพย์ ทรงนภาวุฒิกุล. สภาพปัญหาและความต้องการในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2549.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3), พ.ศ. 2553, “ราชกิจจานุเบกษา”. เล่มที่ 127 ตอนที่ 45. หน้า . กรกฎาคม 2553.
ศิริชัย เศิกศิริ. ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการใช้โปรแกรมข้อมูลและสารสนเทศนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา ยโสธร เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 2555.
สุพจน์ บุญยืน. สภาพและปัญหาการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี,2544.
Fernandez, Dianne Jody. Management, Information Technology and Communications. New York : McGraw-Hill, 2008.
Richardson, W. Jayson. The Adoption of Technology Training by Teacher in Trainers in Canbodia : a Study of the Diffusion of an ICT Innovation. Doctoral dissertation Submitted to the Faculty of Graduate School of the University of Minnesota, 2007.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ