การพัฒนาหลักสูตรเสริมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบอิงบริบทโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้าง ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
หลักสูตรเสริม, การเรียนรู้แบบอิงบริบท, การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ความคาดหวัง และความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ 2) พัฒนาหลักสูตรเสริมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบอิงบริบทโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังทดลองการใช้หลักสูตรเสริม 4) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังทดลอง และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยหลักสูตรเสริม การพัฒนาหลักสูตรมี 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) สร้างหลักสูตร และ 3) ทดลองใช้หลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองชัยวาน จำนวน 21 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น (PNI) และค่าทดสอบแบบกลุ่มสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพ ความคาดหวัง และความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ พบว่า สภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.91) ความคาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับมาก (
= 4.40) และมีความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยรวมมีค่าเท่ากับ 0.57 2. รูปแบบของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ 8 ประการ คือ ที่มาและความสำคัญ แนวคิดพื้นฐาน หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้างเนื้อหา กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3. นักเรียนมีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมด้วยหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.61)
References
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2551.
ตะวัน พันธ์ขาว. การพัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะการเรียนวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 9, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557): 115-128.
ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน), สถาบัน. ประกาศผล ONET 2559 (อ้างเมื่อ 25 มีนาคม 2560). จาก http://www.niets.or.th/th/
ทิศนา แขมมณี. 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.
ธำรง บัวศรี. ทฤษฎีหลักสูตร การออกแบบและพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์, 2542.
บพิจ กิจมี. การใช้การเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐานในการจัดกิจกรรมชุมนุมคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนบ้านเมืองคอง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551.
มัณฑรา ธรรมบุศย์. การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ โดยใช้ PBL (Problem-Based-Learning). วิชาการ. 2 (กุมภาพันธ์ 2545): 11-17.
พิริยา สีสด. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2558.
วิชัย วงษ์ใหญ่. กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาหลักสูตร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2543.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2551.
ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: 3-คิว มีเดีย, 2555.
สงัด อุทรานันท์. พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532.
สิริพร ทิพย์คง. สาระการศึกษาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545.
สุทิน กองเงิน. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2547.
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. สุดยอดการพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ทบุ๊คส์, 2545.
อัมพร ม้าคนอง. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการพัฒนาทักษะและกระบวนทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
Agnes Tiwari, C.M. Wong, & Patrick Lai. Applying the context-based problem-based learning (PBL) model in graduate education. (Online) 1997(Cited December 20, 2016). Available from: http://www.ugc.edu.hk/tlqpr01/site/abstracts/070_tiwari3.htm.
Darkwah, V.A. Undergraduate nursing students’ level of thinking and self-efficacy in patient education in a Context-Based learning Program. Dissertation University of Alberta Canada, 2006.
Elaine B. Johnson. Contextual teaching and Learning: What it is and why it's here to stay. Corwin PressInc:A Sage Publications Company, 2002.
Julia B. Akers. Confronting the Realities of Implementing Contextual LearningIdeas in a Biology Classroom. (Unpublished doctoral dissertation). Virginia Polytechnic Institute and State University, United States, 1999.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ