ปัจจัยที่มีผลต่อความกังวลความเป็นส่วนตัวของผู้ที่ใช้บริการธนาคารออนไลน์
คำสำคัญ:
การรับรู้ความมีชื่อเสียง, การรับรู้การควบคุม, การรับรู้ความเสี่ยง, การรับรู้จุดอ่อน, ความกังวลความเป็นส่วนตัว, ธนาคารออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะส่วนบุคคลที่มีผลต่อความกังวลความเป็นส่วนตัวของผู้ที่ใช้บริการธนาคารออนไลน์ และอิทธิพลของการรับรู้ที่มีต่อความกังวลความเป็นส่วนตัวของผู้ที่ใช้บริการธนาคารออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ใช้บริการธนาคารออนไลน์ จำนวน 402 คนสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.725-0.954 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test สถิติ F-test สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์มีเพียงระดับการศึกษา อาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ทำให้ความกังวลในการใช้บริการธนาคารออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 การรับรู้ความมีชื่อเสียง การรับรู้การควบคุม การรับรู้ความเสี่ยงและการรับรู้จุดอ่อน มีอิทธิพลต่อความกังวลความเป็นส่วนตัวของผู้ที่ใช้บริการธนาคารออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.00 โดยสามารถอธิบายการแปรผันของความกังวลความเป็นส่วนตัวได้ร้อยละ 17.7
References
ธนาคารกรุงไทย. เคทีบีเน็ตแบงก์ผลิตภัณฑ์และบริการธนาคารกรุงไทย. (ออนไลน์) 2558 (อ้างเมื่อ 4 ธันวาคม 2558). จาก https://www.ktb.co.th.
ปฏิญญา จันฤาชัย. เครื่องมือช่วยบริหารความปลอดภัยโดยใช้ฐานข้อมูลจุดอ่อนระบบเปิด.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
พัทราภรณ์ เด่นไพศาล. อิทธิพลของทัศนคติด้านความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีต่อความไว้วางใจในเว็บไซต์. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.
พรพิมล อ่ำพิจิตร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์, 2545.
สมัย จิตหมวด. การสัมผัสและการรับรู้ในจิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2524.
อรรถนียา เปล่งวิทยา. ตัวชี้วัดความมีชื่อเสียงของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจากการรับรู้ของนักลงทุนและพนักงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.
Eastlick, M. A. and et al. Understanding online B-to-C relationships: An integrated model of privacy concerns, trust, and commitment. Journal of Business Research. 59, 8 (2006): 877-886.
Dyke, T. P. V. and et al. The Effect of Consumer Privacy Empowerment on Trust and Privacy Concerns in E-Commerce. Electronic Markets. 17, 1(2007): 68-81.
Kuo, K. M. and Talley, P. C. An Empirical investigation of the privacy concerns of social network site users in Taiwan. International Journal of Scientific Knowledge Computing and Information Technology. 5, 2 (June 2014): 3-19.
Liao, C. and et al. Examining the impact of privacy, trust and risk perceptions beyond monetary Transactions: An integrated model. Electronic Commerce Research and Applications. 10, 6 (2011): 702-715.
Malhotra, N. K. and et al. Internet Users’ Information Privacy Concerns (IUIPC): The Construct, the Scale, and a Causal Model. Information Systems Research. 15, 4 (2004): 336-355.
Nam, C. and et al. Consumer’s Privacy Concerns and Willingness to Provide Marketing-Related Personal Information Online. Consumer Research. 33 (2006): 212-217.
Slyke, C. V. and et al. Concern for Information Privacy and Online Consumer Purchasing. Journal of the Association for Information Systems. 7, 6 (2006): 415-444.
Wu, K. W. and et al. The effect of online privacy policy on consumer privacy concern and trust. Computers in Human Behavior. 28, 3 (2012): 889-897.
Xu, H. and et al. Examining the Formation of Individual's Privacy Concerns: Toward an Integrative View. ICIS. (2008): 1-16.
Xu and et al. Factors affecting privacy disclosure on social network sites: an integrated model. Electronic Commerce Research. 13, 2 (2013): 151-168.
Yang, S. and et al. The influence of information sensitivity, compensation on privacy concern and behavior intention. ACM SIGMIS Database. 40, 1 (2009): 38-51.
Yang, S. and Wang, K. A Fairness Heuristic Analysis of the Primacy Effect of Reputation on Perceived Of Privacy Policy and Privacy Seals. In the 9th International Conference on Electronic Business. (2009): 572-581.
Yuan, L. The impact of disposition to privacy, website reputation and website familiarity on information privacy concerns. Decision Support Systems. 57(2013): 343-354.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอย่างน้อย 2 คน ความคิดเห็นในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของผู้จัดทำ จึงมิใช่ ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และบทความในวารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี สงวนสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองบรรณาธิการ