สภาพและปัญหาการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีในเขตจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ฤติมา มุ่งหมาย คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

สภาพและปัญหาการใช้งาน, โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีในเขตจังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ทำงานและการฝึกอบรมการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม จำนวน 400 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและปัญหาการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวโยงกับโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี โดยกิจการมีปัญหาการใช้งานมากที่สุด คือ ระบบเครือข่ายและระบบส่งผ่านข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพ 2) เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นตามลักษณะส่วนบุคคลที่ต่างกันโดยจำแนกตามเพศ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีไม่แตกต่างกัน นอกนั้นจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ประสบการณ์การทำงาน และการฝึกอบรมเรื่องโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีแตกต่างกัน

References

เกษวรางค์ ญาณะนาควัฒน์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี กรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554.

บรรณภพ มือคม. การประเมินผลการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีสำหรับนิติบุคคลในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558.

ปรียนันท์ วรรณเมธี. ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของอุตสาหกรรมการผลิตในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 4, 1 (มกราคม – มิถุนายน 2558): 9 – 21.

นภาพร ลิขิตวงศ์ขจรและไพลิน ตรงเมธีรัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ซอฟต์แวร์ทางการบัญชีของหน่วยธุรกิจในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 28, 1 (มกราคม – มีนาคม 2551) : 33 – 47.

พรพรรณ วรรณธนะชัย. ปัญหาของธุรกิจในจังหวัดลำปางจากการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553.

พลพธู ปียวรรณ และกัญนิภัทธิ์ นิธิโรจน์ธนัท. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์, 2560.

รุจิจันทร์ วิชิวานิเวศน์. สารสนเทศทางธุรกิจ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2560.

ลักษณ์ประไพ มหานาม และบุษบา อารีย์. ปัญหาในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของวิสาหกิจขนาดและขนาดย่อมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ. 25, 1 (มกราคม-มิถุนายน 2558): 41 – 62.

วาสนา วงศสิทธิ์. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SAP ของธนาคารออมสิน สาขาในเขตภาค 5. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543.

สุวรรณี รุ่งจตุรงค์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551.

ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, สำนักงาน.ฐานข้อมูลผู้ประกอบการ SMEs. (ออนไลน์) 2560. (อ้างอิงเมื่อ 30 กรกฎาคม 2560). จาก http://popcensus.nso.go.th/web/industrial/report.html /

อโณทัย ม่วงทิพย์. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรณีศึกษากิจการค้าส่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 2551.

Taro Yamane. Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd. New York: Harper and Row Publications, 1973.

Maziyar Ghasemi at al. The impact of Information Technology (IT) on modern accounting systems. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 28 (December 2011): 112–116.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30

How to Cite

มุ่งหมาย ฤ. (2019). สภาพและปัญหาการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 14(1), 129–138. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/221609