บทประพันธ์เพลงอีสานร่วมสมัยสำหรับกีตาร์คลาสสิก

ผู้แต่ง

  • ดนุเชษฐ วิสัยจร ศิลปกรรมศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กีตาร์คลาสสิก, ดนตรีอีสาน, ดนตรีร่วมสมัย, เพลงอีสานร่วมสมัย

บทคัดย่อ

กีตาร์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายใน 5 ทศวรรษที่ผ่านมาโดยรับบทบาทเป็นเครื่องดนตรีหลักในดนตรีตะวันตกร่วมสมัยในหลากหลายวัฒนธรรมดนตรี ในโลกตะวันตกกีตาร์ถูกบรรเลงในหลายรูปแบบ เช่น บลูส์ ร็อก บลูกลาส ฟลาเมงโก ส่วนในซีกโลกตะวันออกกีตาร์ก็มีรูปแบบการบรรเลงตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรม กีตาร์ในบริบทของดนตรีสมัยนิยมได้พัฒนาไปหลากหลายแง่มุม แต่ที่เป็นหลักในการศึกษายังขาดแคลนผลงานการประพันธ์ที่จะตอบสนองต่อวัฒนธรรมสมัยนิยมที่เปลี่ยนแปลง รวมไปถึงการตอบสนองต่อบริบทของนักกีตาร์ในแง่มุมของ การแสดงและการศึกษา เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ยากแก่การสร้างบทประพันธ์เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่มีความเฉพาะตัวสูง รวมถึงในวัฒนธรรมดนตรีคลาสสิกตะวันตกในอดีตมีความจำเป็นต้องใช้การแปลงเพลงจากเครื่องดนตรีอื่น ปัจจุบันมีความพยายามสร้างเพลงให้กับกีตาร์มากขึ้น ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการประพันธ์เพลงกีตาร์มีหลายคน เช่น ลีโอ บราวเออร์ แห่งประเทศคิวบา ใช้อัตลักษณ์ของดนตรีพื้นบ้านและถ่ายทอดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลงานเป็นที่นิยมและมีความสำคัญต่อวงการ เซอร์จิโอ อัสสาดและโอแดร์ อัสสาด แห่งประเทศบราซิล โทรู ทาเคมิตซุ แห่งประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ผู้วิจัยมีความประสงค์ที่จะสร้างบทประพันธ์สำหรับกีตาร์คลาสสิกที่มีความหลากหลาย ตอบสนองรสนิยมร่วมสมัย โดยพัฒนาบทประพันธ์บนพื้นฐานของความเป็นไทยอีสานของจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเป็นบ้านเกิดของผู้วิจัย โดยนำเทคนิคของการประพันธ์และการบรรเลงกีตาร์ของนักประพันธ์และนักกีต้าร์ร่วมสมัยมาประยุกต์เพื่อสร้างผลงานที่มีอัตลักษณ์และมีคุณค่าทางศิลปะ

References

ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.

--------------. อรรถาธิบายและบทวิเคราะห์บทเพลงที่ประพันธ์โดยณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

ณัชชา พันธุเจริญ. พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เกศกะรัต, 2554.

-----------. สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เกศกะรัต, 2560.

วรงค์ บุญอารีย์. /Interviewer: ด. วิสัยจร.

อดินันท์ แก้วนิล. การศึกษาวิธีการบรรเลงและการถ่ายทอดการบรรเลงพิณของอาจารย์ทองใส ทับถนน.

เคน ดาเหลา. ประวัติชีวิตและผลงานหมอลำ เคน ดาเหลา, 2534.

Villa-Lobos, Heitor. Villa-Lobos Collected Works for Guitar Solo. Pennsylvania: Theodor Presser Company, 1998.

Ginastera, Alberto. Sonata,op.47. New York: Bossey & Hawkes, 1978.

Whitehead, Corey E., Antonio José Martinez Palacios’ Sonata para Guitarra, An Analysis, Performer’s Guide and New Performance Edition. Tuscon: University of Arizona, 2002.

John Tyrrell, The New Grove Dictionary of Music and Musicians: 29-Volume Set 2nd Edition Oxford University Press, 2004.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30

How to Cite

วิสัยจร ด. (2019). บทประพันธ์เพลงอีสานร่วมสมัยสำหรับกีตาร์คลาสสิก. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 14(1), 49–57. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/221581