ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จ.ระยอง

ผู้แต่ง

  • จีรนันท์ เขิมขันธ์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ปัญญา หมั่นเก็บ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • อานนท์ กลั่นกลอน คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

ห่วงโซ่อุปทาน, การท่องเที่ยวเชิงเกษตร, ความพึงพอใจนักท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จ.ระยอง ตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวจำนวน 330 ราย โดยเลือกจากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลงานวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อปัจจัยต้นน้ำในระดับมาก ได้แก่ ด้านทรัพยากร รองลงมาคือเรื่องน้ำและไฟฟ้า อาหารและเครื่องดื่ม ตามลำดับ นอกจากนี้นักท่องเที่ยวให้ระดับความพึงพอใจในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ รองลงมาคือด้านขยะ/การนำกลับมาใช้ใหม่ และด้านงานฝีมือท้องถิ่น/สินค้าท้องถิ่น แปรรูป ในด้านปัจจัยกลางน้ำ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ได้ให้ระดับความพึงพอใจระดับมาก ได้แก่ ด้านบริการท่องเที่ยว รองลงมาคือ สถานที่และกิจกรรม ในส่วนด้านที่พักอาศัย และการขนส่งการเดินทาง นักท่องเที่ยวให้ระดับความพึงพอใจในระดับปานกลาง ด้านปัจจัยปลายน้ำนักท่องเที่ยวได้ให้ระดับความพึงพอใจระดับมาก

References

การท่องเที่ยวและกีฬา, กระทรวง. สรุปรายได้และค่าใช้จ่ายการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ม.ค - มิ.ย. ปี 2560. (ออนไลน์) 2560 (อ้างเมื่อ 17 กรกฎาคม 2561). จากhttps://www. mots.go.th/more_news.php?cid=506&filename=index.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. สถิติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (ออนไลน์) 2558 (อ้างเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2560). จาก http://thai.Tourism thailand.org/home.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภูมิภาคภาคตะวันออก. รายชื่อสวนผลไม้ในพื้นที่ภาคตะวันออก. (ออนไลน์) 2558 (อ้างเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2559).จาก http://www.traveleastthailand.org/ activity-detail.php?id=119.

ขวัญกมล ดอนขวา และจิตตานันท์ ติกุล. การพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารเทคโนโลยี สุรนารี. 8, 1 (2557): 55-71.

ทัศไนยวรรณ ดวงมาลา สุนทร ปัญญะพงษ์ และวิมลศิลป์ ปรุงชัยภูมิ. รายงานกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวของ แหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดอีสานใต้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2550.

ปองพล ธวัลหทัยกุล ชัชฎารัตน์ มุกดา และวศิรินทร์ วารีเศวตสุวรรณ. แนวทางการพัฒนาศักยภาพแหลงทองเที่ยวเชิงเกษตรในกลุมอีสานใต. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2550.

พัทธย์มล สื่อสวัสดิ์วณิชย์. ต้นแบบการบริหารจัดการธรุกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตร อย่างมีประสิทธิภาพในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 35, 1 (2558): 103-124.

เถลิงศักดิ์ ชัยชาญ. รายงานการพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2556.

สุขุมาภรณ์ ขันธ์ศรี และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่องการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง (ปีที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2549.

Cochran, W.G. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons, 1977.

Handfield, R. B.et al. Avoid the Pitfalls in Supplier Development. Sloan Management Review. 41, 2 (2000): 37-49.

Tapper, R., and Font X. Tourism Supply Chains. Report of a Desk Research Project for The Travel Foundation. Leeds: Leeds Metropolitan University, 2004.

Xinyan, Z., Haiyan, S. and George, Q. H. Tourism supply chain management: A new research agenda Tourism Management, Proceedings of the Seventh International Conference on Management. 30, 3 (2009): 345-358.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30

How to Cite

เขิมขันธ์ จ., หมั่นเก็บ ป., & กลั่นกลอน อ. (2019). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อห่วงโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงเกษตร จ.ระยอง. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 14(1), 13–19. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Pitchayatat/article/view/221560