กรณีศึกษามาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา ตามมาตรา 90 และมาตรา 132 พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว
คำสำคัญ:
มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา, เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด, คดีเด็กและเยาวชน, แผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูบทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา มาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดีตามกรอบความคิด การเบี่ยงเบนเด็กและเยาวชนความผิดออกจากกระบวนการยุติธรรม และเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของ มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 90 และ มาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดี ตามมาตรา 132 แห่งพระราชบัญญัติ ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 อันมีแนวคิดทฤษฎี หลักกฎหมาย อนุสัญญา รวมทั้งกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the rights of the child) เป็นอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ประเทศไทยได้ลงนามเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2532 สหประชาชาติได้ประกาศปฏิลญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนว่า เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลและการช่วยเหลือเป็นพิเศษโดยเฉพาะเด็กควรได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นเพื่อที่จะเติบโตสามารถมีความรับผิดชอบในชุมชนของตนได้เป็นอย่างดี ตลอดจนการได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพในการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีต่อไปในอนาคต การเบี่ยงเบนคดี (Diversion) 1. เมื่อมีความเหมาะสม ควรพิจารณาดำเนินการผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนโดยไม่ต้องใช้กระบวนการพิจารณาพิพากษาคดี 2. ปัญหาอุปสรรคในการนำมาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดี 3. การพัฒนาแนวทางการนำหลักเกณฑ์ของมาตรา 90 และมาตรา 132 วรรคหนึ่ง มาใช้แทนการพิพากษาคดีในเชิงบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ ศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสาร คู่มือปฏิบัติงานของหน่วยงาน บทความ และจุลสาร ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หรือการปฏิบัติตามมาตราการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา มาตรา 90 และมาตรา 132 ซึ่งมีความแตกต่างในขั้นตอนและช่วงเวลาในกระบวนการพิพากษาคดีของศาลแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อนำไปสู่แนวทางความเข้าใจในข้อแตกต่างระหว่างบริบทของทั้งสองมาตราดังกล่าว ดังนั้นจะเห็นได้ว่า มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาตามมาตรา 90 และ มาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดี ตามมาตรา 132 ถือได้ว่า มาตรการแทนการพิพากษาคดียังไม่สามารถยับยั้งหรือทำให้เด็กและเยาวชนกลับตัวเป็นคนดีของสังคมได้ กล่าวได้ว่ามาตรการตามกฎหมายนั้นมีความสมบูรณ์ แต่ยังคงมีส่วนที่ควรปรับปรุงเกี่ยวกับเรื่องการให้อำนาจในการตัดสินกับผู้พิพากษา ที่กว้างเกินความจำเป็นและรวมไปถึงการนำกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าวมาบังคับใช้
References
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2565). ประวัติความเป็นมากรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน.
ธัญญรัตน์ ทองงาม. (2560). ปัญหาการใช้มาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดีตามมาตรา 132 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง].
นงนุช มหาคีตะ. (2564). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 90 ของเด็กหรือเยาวชนและผู้เสียหายในความผิดเกี่ยวกับเพศ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. http://www.lawgrad.ru.ac.th/AbstractsFile/6324011618/ 1662005908100b6b700de82aacfb77a80ca7b45697_abstract.pdf
นพนนท์ นฤปิยะกุล. (2548). พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของเด็กและเยาวชน. [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิตที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นันท์นภัส ศิริชัชวาลวงศ์, ศิวะ จงจิตต์ และอัจฉราวรรณ อิสโร. (2559, 23 มิถุนายน). การใช้มาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดีอาญาในกรณีเด็กและเยาวชนในเขตอำนาจศาลเยาชนและครอบครัวจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2557-2559 [รายงานประชุม]. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2559. สงขลา, ประเทศไทย.
ประเทือง ธนิยผล. (2556). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา: Criminology and Penology (พิมพ์ครั้งที่ 9). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เมธาพร กาญจนเตชะ. (2562, 30 มีนาคม). สังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา [รายงานประชุม]. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ.2562. นครราชสีมา, ประเทศไทย.
สมชัย ฑีฆาอุตมากร และพรรณกรณ์ พรหมเพ็ญ. (2555). ปัญหาการดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553. พลสยาม พริ้นติ้ง.
สหรัฐ กิติศุภการ. (2564). หลักและคำพิพากษา พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 (ปรับปรุงใหม่ 2564) (พิมพ์ครั้งที่ 5). บริษัทอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง จำกัด.
สำนักงานศาลยุติธรรม. (2562). คู่มือปฏิบัติราชการของตุลาการ ส่วนวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว เล่ม 9. สำนักงานศาลยุติธรรม.
สำนักส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ. (2555). อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก Convention on the Rights of the Child
และพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก Optional Protocol to the Convention 0n the Rights of the Child. สำนักส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์