ปัญหาการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังของบุคคล ที่มีความหลากหลายทางเพศตามกฎหมายไทย

ผู้แต่ง

  • อัสสชิ เสื้อวิจิตร คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สุธี อยู่สถาพร คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

สิทธิผู้ต้องขัง, บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ

บทคัดย่อ

         บทความนี้ได้เสนอการศึกษาประวัติ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศตามกฎหมายไทย โดยเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ และนำไปวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายและอุปสรรค พร้อมทั้งเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

         จากการศึกษา พบว่า กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ ยังคงยึดถือตามเพศกำเนิดเป็นสำคัญ โดยไม่ได้ยึดถือตามเพศสภาพ ประกอบกับกฎหมายไทยในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดแปลงเพศ ให้ได้สิทธิตามเพศสภาพที่เป็นอยู่ ทำให้การปฏิบัติต่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในฐานะผู้ต้องขังไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในเรื่อง การค้นตัว การแยกประเภทการคุมขังที่ใช้เกณฑ์ตามเพศกำเนิด สิทธิร้องเรียนของผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศกรณีถูกล่วงละเมิดทางเพศที่ให้การคุ้มครองเฉพาะเพศหญิงเท่านั้น และสิทธิในการเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศในฐานะคู่สมรส ซึ่งจากการศึกษาหลักการยอกยาการ์ตา และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสหราชอาณาจักร พบว่ามีกฎหมายที่ให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ ดังนั้น การที่ไม่มีกฎหมายรับรองสิทธิของผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศย่อมทำให้เกิดการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งเพศ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ

         ด้วยเหตุนี้ จึงบทความนี้ จึงเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 31(1) โดยเพิ่มคำว่า “เพศสภาพ” และแก้ไขมาตรา 47, 59 ให้ครอบคลุมถึงสิทธิของผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมถึงแก้ไขกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 85 วรรคสอง และมาตรา 132(1) ในขั้นตอนการจับของพนักงานสอบสวนเพื่อให้มีการคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศตามหลักสิทธิมนุษยชนที่เป็นสากล

References

กุลพล พลวัน. (2547). สิทธิมนุษยชนในสังคมโลก. สำนักพิมพ์นิติธรรม.

เนื่องน้อย บุณยเนตร. (2544). จริยศาสตร์ตะวันตก ค้านท์ มิ้ลล์ ฮอบส์ รอลส์ ซาร์ทร์. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2552). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความมนุษย์. สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ประธาน วัฒนวาณิชย์. (2520). ระบบความยุติธรรมทางอาญา: แนวความคิดเกี่ยวกับการควบคุมอาชญากรรมและกระบวนการนิติธรรม. วารสารนิติศาสตร์, 9(2), 142-171.

สมชาย อัศวพันธุ์ธนกุล. (2533). ความคิดเรื่องความเท่าเทียมในทฤษฎีความยุติธรรมของจอห์น รอลส์,” [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (Thailis).

องค์การสหประชาชาตินิวยอร์กและเจนีวา. (2005). สิทธิมนุษยชนและงานราชทัณฑ์: มาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ฉบับพกพา. http://lms.nhrc.or.th/ulib/document/Fulltext/F08962.pdf

อายุตม์ สินธพพันธ์. (2564). กรมราชทัณฑ์ ร่วมมือ UNDP เพื่อพัฒนาการดูแลผู้ต้องขังข้ามเพศให้ได้มาตรฐานสากล. https://www.sdgmove.com/2021/ 05/02/department-of-corrections-and-undp-improve-treatement-transgender-inmates/

John Rawls. (1999). The Law of Peoples. Harvard University Press.

Robert B. Talisse. (2001). On Rawls: A liberal Theory of Justice and Justification. Wadsworth.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

เสื้อวิจิตร อ. ., & อยู่สถาพร ส. . (2024). ปัญหาการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังของบุคคล ที่มีความหลากหลายทางเพศตามกฎหมายไทย. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์, 8(2), 189–215. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/270269