ปัญหามลพิษทางอากาศและแนวคิดในการจัดทำ ร่างกฎหมายเพื่อแก้ไขมลพิษทางอากาศ
คำสำคัญ:
มลพิษทางอากาศ, ร่างกฎหมายเพื่อแก้ไขมลพิษทางอากาศ, การบริหารจัดการมลพิษทางอากาศ, คณะกรรมการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศ, เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศ (Air Pollution Management) ของหน่วยงานของรัฐ เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ และพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่เฉพาะในการใช้มาตรการบังคับกฎหมายแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ โดยศึกษาและค้นคว้าเพื่อนำเสนอแนะแนวคิดในการยกร่างกฎหมายต้นแบบ (Model Law) เพื่อแก้ไขมลพิษทางอากาศ และกำหนดให้อำนาจหน้าที่คณะกรรมการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศในการออกกฎ (By-law) ระเบียบ (Rule) ข้อบังคับ (Regulation) ให้แก่หน่วยงานของรัฐ เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ และพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อใช้เป็นมาตรการตรวจสอบ ควบคุม ป้องกัน ลด และขจัดมลพิษทางอากาศในประเทศให้หมดไป โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการรับฟังความคิดเห็น
ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุของปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมมลพิษทางอากาศของหน่วยงานของรัฐ (State Agency) เจ้าพนักควบคุมมลพิษ (Pollution Control Officer) และพนักงานเจ้าหน้าที่ (Competent Official) ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 (Improvement and Conservation of the National Environmental Quality Act B.E. 2535 (1992)) และกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับอื่นนั้น ยังไม่ได้กำหนดการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศไว้ชัดเจน จึงทำให้การดำเนินงานของพนักงานเจ้าหน้าที่เกิดความล่าช้าในการควบคุมมลพิษทางอากาศ หากเปรียบเทียบกับกระบวนการควบคุมมลพิษทางอากาศกฎหมายต่างประเทศจะเห็นได้ว่า กฎหมายต่างประเทศมีการกำหนดให้อำนาจหน้าที่ไว้โดยเฉพาะแก่หน่วยงานของรัฐ เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ และพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้บังคับกฎหมายแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ แต่กฎหมายไทยยังไม่มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ให้หน่วยงานของรัฐ เจ้าพนักควบคุมมลพิษ และพนักงานเจ้าหน้าที่บริหารจัดการมลพิษทางอากาศไว้ชัดเจน การวิจัยนี้จึงจัดทำเป็นกรอบของกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการแก้ไขมลพิษทางอากาศ เพื่อเป็นแนวคิดทางกฎหมายในการกำหนดให้อำนาจหน้าที่คณะกรรมการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศ (the Air Pollution Management Committee) ที่จะออกกฎหมายลำดับรอง (Subordinate Legislation) เพื่อแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับกฎหมายต่างประเทศ
การวิจัยนี้ มีข้อเสนอแนะทางวิชาการ (Academic Recommendations) ให้นำกฎหมายต้นแบบที่ยกร่างขึ้นมาใช้เป็นบทบัญญัติที่กำหนดอำนาจและหน้าที่ให้แก่เจ้าหน้าที่ (the Officials) เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในท้องที่ ซึ่งหากมีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะนี้แล้ว อาจช่วยให้การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น สามารถสร้างวิธีการมีส่วนร่วม (Methods of Participation) ระหว่างประชาชนและรัฐ ทั้งในด้านกฎหมาย สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้การบริหารจัดการมลพิษทางอากาศร่วมกันระหว่างภาครัฐ (Public Sector) และภาคเอกชน (Private Sector) อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศควบคู่ไปกับการพัฒนากฎหมายสิ่งแวดล้อมให้มีลักษณะเป็นเอกภาพ (Unity) สามารถแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม (Public Interest)
References
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2567). ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่ 76/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต สำหรับของเพื่อใช้ใน การผลิตสินค้าหรือเพื่อพาณิชกรรมในเขตประกอบการเสรี. http://law.industry.go.th /laws/file/61527
กรมอนามัย. (2561). รวมข้อหารือการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัทคิวคัมเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด.
เกียรติสกุล ชลครดา. (2542). มาตรการจูงใจในกฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมไทยภายใต้ข้อตกลงแกตต์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ข้อ 5 ฉบับที่ 11. พ.ศ. 2555-2559. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
คะนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม. (2560). ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์ บริษัทพี. เพรส. จำกัด.
จี๊ด เศรษฐบุตร. (2545). หลักกฎหมายแพ่ง ลักษณะละเมิด (พิมพ์ครั้งที่ 4). [เอกสารที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณรงค์ ใจหาญ. (2549). แนวทางการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศและเสียงโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์ สถาบันพระปกเกล้า.
น้ำแท้ มีบุญสล้าง. (2550). การคำเนินคดีแบบกลุ่ม Class Acion และการนำรูปแบบการคำเนินคดีแบบกลุ่มมาใช้ในคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์นิติธรรม.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2535. (2535, 31 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 109 ตอนที่ 42. หน้า 1-314.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477. (2477, 7 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 52. หน้า 1-105.
ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499. (2499, 13 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 73 ตอนที่ 95. ฉบับพิเศษ. หน้า 1-122.
ประเสริฐ สิทธินวผล. (2561). บทบาทในการดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมของศาลยุติธรรมและศาลปกครอง: เชิงเปรียบเทียบ. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 11(3), 45-66.
พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522. (2522, 15 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 96 ตอนที่ 38. ฉบับพิเศษ. หน้า 1-36.
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. (2535, 29 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 109 ตอนที่ 38. หน้า 1-32.
พระราชบัญญัติจัดตังศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542. (2542, 5 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 94. หน้า 1-43.
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522. (2522, 18 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 96 ตอนที่ 8. ฉบับพิเศษ. หน้า 1-46.
พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522. (2522, 8 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 96 ตอนที่ 77. ฉบับพิเศษ. หน้า 1-28.
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535. (2535, 2 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 109 ตอนที่ 44. หน้า 1-16.
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539. (2539, 27 กันยายน). ประกาศในราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 113 ตอนที่ 60 ก. หน้า 1-31.
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535. (2535, 29 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 109 ตอนที่ 37. หน้า 1-46.
พนัส ทัศนียานนท์, ธวัชชัย บุณยะโชติ, และกมลทิพย์ คติการ. (2533). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90.
ราตรี ภารา. (2540). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สำนักพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2540). กฎหมายอุตสาหกรรมและกฎหมายโรงงานว่าด้วยพระราชบัญญัติโรงงาน พุทธศักราช 2535 (พิมพ์ครั่งที่ 3). สำนักพิมพ์นิติธรรม.
สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2556). การดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับสาธารณสุขอำเภอ การจัดการเหตุรำคาญและ
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2543). ทางเลือกหนึ่งในการเยียวยาผู้เสียหายจากปัญหามลพิษ. ดุลพาห, 1(43). 98-111.
อำนาจ วงศ์บัณฑิต. (2557). กฎหมายสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์วิญญูชน.
อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. (2556). กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์เดือนตุลา.
Australian Government. (2016). National Strategy for Ecologically Sustainable Development Part 1 Introduction. Department of the Environment and Energy. Prepared by the Ecologically Sustainable Development Steering. December.
Borras, Susana. (2013). New Transitions from Human Rights to the Environment to the Rights of Nature. Journal Transnational Environmental Law, 6(3), 113-115.
Department for Environment. (2012). The Futureof the Clean Air Act. Food and Rural Affairs. Department for Environment.
Environmental Agency. (1967). Environmental Laws and Regulations in Japan. Environmental Agency.
Front Matter. (2014). Nomenclature of Organic Chemistry: IUPAC Recommendations and Preferred Names 2013. (Blue Book). The Royal Society of Chemistry.
Sax, Joseph Lawrence. (1970). The Public Trust Doctrine in Natural Resources Law: Effective Judicial Intervention. Michigan Law Review, 68(3), 471-566.
Williams, Ben. (1996). Sixty years since the 1956 Clean Air Act: Are we Really Doing Enough to Reduce Air Pollution. Journal the International Network of Environmental Forensics Bulletin, 1(24), 1-6.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์