วิเคราะห์ปัญหาตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี ประภาการ สำนักงานคดีปกครองอุดรธานี สำนักงานอัยการสูงสุด
  • ตรีเพชร์ จิตรมหึมา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กรุงเทพมหานคร
  • สำเรียง เมฆเกรียงไกร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งการวิจัยวิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการรับฟังความคิดเห็น ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ที่มีความรู้ทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และนักกฎหมายมหาชน

ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุของปัญหาและอุปสรรคในการปรับใช้กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่  พ.ศ. 2539 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 นั้น ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น ปัญหาการที่ไม่ปรากฏว่ามีบทนิยามคำว่า “ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” ปัญหาการไม่มีบทนิยามคำว่า “หน่วยงานของรัฐ” ปัญหาเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่และมิใช่การปฏิบัติหน้าที่ ปัญหาการจำกัดสิทธิในการฟ้องคดีของผู้เสียหาย ปัญหาเรื่องอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากหน่วยงานของรัฐ กรณีเจ้าหน้าที่กระทำละเมิดโดยการปฏิบัติหน้าที่ ปัญหาการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของเจ้าหน้าที่ หรือปัญหาเจ้าหน้าที่กระทำการใด ๆ อันเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ปัญหาเหล่านี้ทำให้การใช้ดุลพินิจและการวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการพิจารณาความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ในการดำเนินการเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จากการวิจัยนี้ได้จัดทำเป็นกรอบกฎหมายต้นแบบว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และการดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อเสนอแนะการวิจัยในครั้งนี้ จึงเสนอแนะให้ยกเลิกพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และนำร่างไปสู่การร่างกฎหมายต้นแบบด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และการดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน พ.ศ. .... ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้เกิดความชัดเจนในการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดยิ่งขึ้น และยังเป็นการสร้างหลักประกัน และสร้างความเป็นธรรม ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้แก่เจ้าหน้าที่ หน่วยงานของรัฐ ผู้เสียหาย โดยจะส่งผลดีต่อการปฏิบัติราชการทางปกครองอันทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ บรรลุผล และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

References

กมลชัย รัตนสกาววงศ์. (2548). กฎหมายปกครอง: คำบรรยายสรุปบทความ รายงานการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักพิมพ์วิญญูชน.

กองพัฒนากฎหมาย. (2562). คำอธิบายสาระสำคัญของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์จัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักงานกฤษฎีกา.

ณรงค์ศักดิ์ เฉิดฉาย. (2564). ปัญหาระยะเวลาการออกคำสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศรีปทุม]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).

ตรีเพชร์ จิตรมหึมา. (2562). วิเคราะห์ปัญหาบางประการในกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539. (2539, 14 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 ตอน 60 ก. หน้า 25-29.

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539. (2539, 14 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 ตอน 60 ก. หน้า 1-24.

พัชฌา จิตรมหึมา. (2564). หลักเกณฑสำคัญในกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พิเคราะห์ปัญหาของบทบัญญัติกฎหมายเพื่อนำไปสู่แนวคิดในการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. (2568, 11 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 42 หน้า 1-324.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539. (2539, 15 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 ตอนพิเศษ 39 ง. หน้า 1-10.

ศาลปกครอง. (2558). คำพิพากษาศาลสูงสุดที่ อ.468/2558.https://www.admincourt.go.th/admincourt/Casefile/admcase/document/signed/pdf/2554/01012-540969-1f-580518-0000552031.pdf

ศาลปกครอง. (2559). คำพิพากษาศาลสูงสุดที่ อ.116/2559.https://www.admincourt.go.th/admincourt/Casefile/admcase/document/signed/pdf/2556/01012-561772-2f-590316-0000569684.pdf

ศาลปกครอง. (2559). คำพิพากษาศาลสูงสุดที่ อ.351/2559.https://www.admincourt.go.th/admincourt/Casefile/admcase/document/signed/pdf/2554/01012-541300-1f-590511-0000573551.pdf

ศาลปกครอง. (2561). คำพิพากษาศาลสูงสุดที่ อ.1046/2561.https://www.admincourt.go.th/admincourt/Casefile/admcase/document/signed/pdf/2556/01012-561772-2f-590316-0000569684.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29