ปัญหาทางกฎหมายการยกเลิกคำสั่งการเลื่อนระดับ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาภายหลังที่เสียชีวิต
คำสำคัญ:
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, การยกเลิกและเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง, การยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งการเลื่อนระดับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาภายหลังที่เสียชีวิตบทคัดย่อ
ปัญหาการบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับการเลื่อนระดับและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นตามกฎหมายระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (Law on Government Teacher and Educational Personnel) มีประเด็นทางกฎหมายที่สำคัญ คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 63 วางหลักว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เลื่อนตำแหน่งหรือเลื่อนวิทยฐานะ โดยไม่เข้าเกณฑ์มาตรฐานตำแหน่ง หรือมาตรฐานวิทยฐานะหรือไม่ผ่านกระบวนการเลื่อนตำแหน่งหรือกระบวนการเลื่อนวิทยฐานะตามกฎหมาย หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. (คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) กำหนดให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ผู้นั้นกลับไปดำรงตำแหน่งหรือวิทยฐานะเดิมโดยพลัน โดยกฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งการเลื่อนระดับและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาภายหลังที่เสียชีวิตไว้ จึงเกิดประเด็นปัญหาข้อกฎหมายหลายประการ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมาย วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการยกเลิกคำสั่งเลื่อนระดับและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาภายหลังที่เสียชีวิตที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เปรียบเทียบการยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งทางปกครองประเทศไทยกับกฎหมายต่างประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐฝรั่งเศส การวิจัยนี้ได้ค้นพบว่า การยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งการเลื่อนระดับและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงมีการปรับใช้หลักกฎหมายและดุลพินิจแตกต่างกันไม่เป็นธรรมกับได้ผู้รับผลกระทบจากคำสั่ง กล่าวคือ คำสั่งไม่มีผลบังคับแก่เจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตแล้ว การเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบเป็นเรื่องดุลพินิจจะสั่งย้อนหลังหรือมีผลในอนาคตก็ได้ คำสั่งให้ประโยชน์เกินเก้าสิบวันเพิกถอนไม่ได้ ผลศึกษาเปรียบเทียบการเพิกถอนคำสั่งให้ประโยชน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายพบว่า ระยะเวลาการเพิกถอนตามกฎหมายประเทศไทยจะสั้นกว่ากฎหมายสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ส่วนสาธารณรัฐฝรั่งเศส การเพิกถอนคำสั่งให้ประโยชน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจะเข้มงวดจำกัดระยะเวลาต้องกระทำภายในสี่เดือนนับแต่วันที่มีคำสั่ง สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีนำหลักการคุ้มครองความเชื่อถือหรือความไว้วางใจโดยสุจริตมาปรับใช้กับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองชัดเจนกว่าประเทศไทย ส่วนสาธารรัฐฝรั่งเศสนำหลักคุ้มครองความมั่นคงสิทธิมาใช้อย่างชัดเจนกว่าประเทศไทย ดังนั้น เพื่ออำนวยความยุติธรรมจึงเสนอแนะให้มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และบทบัญญัติในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ด้วย
References
กมลชัย รัตนสกาววงศ์. (2544). การยกเลิกและการเพิกถอนนิติกรรมทางปกครอง” พื้นฐานความรู้ทั่วไป หลักกฎหมายเยอรมัน. สำนักพิมพ์นิติธรรม.
กมลชัย รัตนสกาววงศ์. (2544). หลักกฎหมายปกครองเยอรมัน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กาญจนา สุดประเสริฐ. (2547). “การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมาย”. [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.338/2552
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 319-320/2562 เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย และการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากคำสั่งทางปกครอง (อุทธรณ์คำพิพากษา)
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2560). กฎหมายปกครองเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการประเภทต่าง ๆ. สำนักพิมพ์วิญญูชน.
นภสนันทชณ์ ศรีปัญญาประดิษฐ์. (2562). ปัญหาทางกฎหมายในการพิจารณาวินิจฉัยและการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองซึ่งเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศรีปทุม]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2556). หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 5). สำนักพิมพ์วิญญูชน.
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2540, 10-12 ตุลาคม). การสิ้นสุดของคำสั่งทางปกครอง เอกสาร [การนำเสนอ]. การประชุมวิชาการเรื่องพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539. เพชรบุรี, ประเทศไทย.
บุญอนันต์ วรรณพานิชย์. (2533). “หลักความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางปกครองของไทย”. [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยบุตร แสงกนกกุล. (2556). กฎหมายปกครองของประเทศในยุโรป. โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัชฌา จิตรมหึมา. (2564). “คำสั่งทางปกครองและการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เปรียบเทียบกฎหมายฝรั่งเศส”. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
มานิตย์ จุมปา. (2533). การยกเลิกและเพิกถอนนิติกรรมทางปกครอง. [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
มานิตย์ จุมปา. (2546). คำอธิบายกฎหมายปกครอง. สำนักพิมพ์วิญญูชน.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง: หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง และการกระทำทางปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์เดือนตุลาคม.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2538). หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง. โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2559). การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองโดยเจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์เดือนตุลาคม.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2564). ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานบางประการของกฎหมายปกครอง. สำนักพิมพ์วิญญูชน.
ศักรินทร์ ปานอำพันธ์. (2562). “ปัญหาการยกเลิกหรือเพิกถอนการอนุมัติ อนุญาตออกเอกสารสิทธิให้สิทธิประโยชน์หรือการสั่งการใด ๆ ที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต”. [สารนิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศรีปทุม]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
ศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์. (2559). หลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับการลบล้างนิติกรรมทางปกครองในระบบกฎหมายฝรั่งเศส. กฤษฎีกาสาร, 11(6), 14.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2556). บันทึกคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่อง การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์: กรณีคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของกระทรวงมหาดไทย. (เรื่องเสร็จที่ 331/2556)
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2557). บันทึกคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่อง การมีคำสั่งให้ข้าราชการออกจากราชการ: กรณีบุคคลที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการ โดยส่วนราชการผู้บรรจุไม่ได้ตรวจสอบก่อนว่ายังเป็นผู้มีสิทธิได้รับการบรรจุและแต่งตั้งอยู่หรือไม่. (เรื่องเสร็จที่ 606/2557)
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2557). บันทึกคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่อง การเพิกถอนดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในการคัดเลือกข้าราชการให้ส่งผลงานประเมินเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญ. (เรื่องเสร็จที่ 1312/2557)
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2559). บันทึกคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่อง การเพิกถอนคำสั่งเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของกรมสอบสวนคดีพิเศษ. (เรื่องเสร็จที่ 1034/2559)
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2564). บันทึกคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่อง การยกเลิกคำสั่งเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของข้าราชการที่เสียชีวิต. (เรื่องเสร็จที่ 497/2564)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์