ปัจจัยที่มีผลต่อคะแนนที่ได้รับเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สมาน กาบมาลา อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

ปัจจัยการได้รับคะแนนเสียง, การเลือกตั้ง, นายกเทศมนตรีตำบลป่าไผ่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งของนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยในเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรีตำบลป่าไผ่ ซึ่งการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการได้รับคะแนนเสี่ยงเลือกตั้งของนายกเทศมนตรีตำบลป่าไผ่ เพื่อให้ทราบว่าการได้รับคะแนนเสียงนั้นเกิดจากปัจจัยใดบ้าง และอย่างไร โดยศึกษาจากประชากร จำนวน 10,306 คน คำนวณของ Yamane ได้ 386 ตัวอย่าง แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้ง มีอยู่ 3 ปัจจัย ซึ่งมีความสำคัญแตกต่างกัน ลดหลั่นกันลงมา กล่าวคือ ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งที่มีอิทธิพลที่สุด คือ กลยุทธ์การหาเสียง (Campaigning) รองลงมาคือ บริจาคแก่สาธารณะ (Donation) และกลโกงต่างๆ (Fraud) ตามลำดับ ซึ่งสามารถนำมาเขียนสมาการทางคณิตศาสตร์ได้ดังนี้ Obtaining the vote 1= 9.41+0.51 Campaigning + 0.25 Donation +0.16 Fraud

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้ คือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งควรหาวิธีการป้องกัน กลโกง และการติดสินบนเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรม และแสวงหาวิธีการป้องกันการแจกจ่ายทรัพย์สินเงินทอง โดยผ่านตัวแทน หัวคะแนน หรือแจกจ่ายโดยตรงให้แก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในรูปแบบต่าง ๆ ส่วนนักการเมืองหรือผู้นำท้องถิ่นควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ในสมการว่าปัจจัยใดที่มีผลทำให้ตนเองและตัวแทนพรรคพวกของตนได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง สำหรับนักวิจัยควรนำวิธีการวิจัยนี้ไปขยายขอบเขตการวิจัยให้กว้างขว้างมากยิ่งขึ้น จนสามารถนำมาสร้างเป็นทฤษฎีทางการเมืองยุคใหม่ได้

References

ธมลวรรณ วรรณปลูก (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกเทศมนตรีศึกษากรณีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. [การค้นคว้าอิสระปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยเกริก.

ธีรยุทธ บุญมี. (2536). คำถามถึงอนาคตของระบบอุปถัมภ์ไทย: 18-19 สองหน้าสังคมไทย. นาอักษรการพิมพ์.

นงค์รักษ์ ต้นแคน. (2558). อิทธิพลที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเตย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม, [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปรีชา คุวินทร์พันธ์. (2539). ระบบอุปถมภ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ โพธิสว่าง. (2554). การทำวิจัยทางสังคม: หลักการ วิธีปฏิบัติ และสถิติ. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพฑูรย์ โพธิสว่าง และวิเชียร ตันศิริคงคล. (2556) รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้นำทางการเมืองของประเทศไทย. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพฑูรย์ โพธิสว่าง และคณะ. (2546). ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการป้องกันการซื้อเสียงเลือกตั้ง: กรณีศึกษาเฉพาะกรณีพื้นที่ภาคตะวันออก. วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วีระวรรณ จักกระหวัด (2557). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขวาง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิวิไลช์ นันคณิสรณ์ (2553). ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะตอน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมจิตร รัตนอุดมโชค (2562) .การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สมชาย วุฒิพิมลวิทยา (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกเทศมนตรี: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง [การค้นคว้าอิสระปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยเกริก.

เอกวิทย์ มณีธร. (2554). ระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนของไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). เอ็ม.ที.เพรส.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27