มาตรการทางกฎหมายในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร: กรณีศึกษา ตำบลภูเงิน อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
มาตรการทางกฎหมาย, การจัดการสมรรถนะด้านดิจิทัล, การท่องเที่ยวเชิงเกษตรบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์ของมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในพื้นที่ตำบลภูเงิน อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
จากการศึกษา พบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาและสัญญา ที่พัก กิจกรรมท่องเที่ยว กรณีนักท่องเที่ยวได้รับอันตรายหรือได้รับบาดเจ็บ ไม่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้ คงใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บังคับในการเรียกค่าสินไหมทดแทน กฎหมายเกี่ยวกับมัคคุเทศก์ ไม่ได้กำหนดมัคคุเทศก์ด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรไว้ ทำให้การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรไม่มีประสิทธิภาพ ด้านราคาสินค้าและบริการ กฎหมายไม่มีมาตรการบังคับ รวมถึงการกำหนดโทษที่เป็นรูปธรรม กรณีผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวไม่แสดงราคาสินค้าและบริการ การให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และมีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายภายในเขตพื้นที่ของตนยังไม่เป็นรูปธรรม
ดังนั้น เพื่อให้การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้มาตรฐาน ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยการตั้ง “คณะกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร” เพื่อบริหารจัดการท่องเที่ยว รวมทั้งมีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายภายในเขตพื้นที่ของตน ทั้งในด้านการโฆษณาและสัญญา ด้านที่พัก ด้านกิจกรรมท่องเที่ยวด้านมัคคุเทศก์ ด้านราคาสินค้าและบริการ ทั้งนี้ เพื่อควบคุมคุณภาพหรือมาตรฐานของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ให้ได้มาตรฐานเพื่อนำไปสู่เมืองต้นแบบการท่องเที่ยวต่อไป
References
กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2564). ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ทะเบียนเลขที่
สช 61100112. http://www.ipthailand.go.th/th/gi-011/item/gi61100112.html
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2548). คู่มือการบริหารและจัดการการท่องเที่ยวเกษตร. ม.ป.ท.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). ข่าวการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. https://www.tat.or.th/th/news
ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. สามลดา.
นิคม จารมณี. (2544). การท่องเที่ยวและการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 2). โอเดียนสโตร์.
นิศา ชัชกุล. (2555). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2552). คู่มือการประเมินมาตรฐานและคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
สำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.(2557). คู่มือการตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร.สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
อรรถพล ศิริเวชพันธ์. (2563). ประวัติศาสตร์ไทยและการท่องเที่ยว. ศรีสะเกษ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์