การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมภาษาโคราช ด้วยกระบวนการการจัดการทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • สิทธิศักดิ์ พรมสิทธิ์ อาจารย์ ดร. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • สุรพงษ์ แสงเรณู ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สุกิจจ์ บุตรเคน นักวิชการอิสระ

คำสำคัญ:

การอนุรักษ์, ภาษาโคราช, การจัดการวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทและความสำคัญของภาษาโคราชกับความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมภาษาโคราชแบบมีส่วนร่วม และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมภาษาโคราชด้วยกระบวนการการจัดการทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม การวิจัยครั้งนี้เป็นวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากชุมชนและภาคีเครือข่าย จำนวน 30 คน โดยวิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) และวิธีการสืบเสาะหาด้วยวิธีการบอกต่อ (Snow ball) รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน จากนั้นนำผลการศึกษามาวิเคราะห์ เพื่อนำมาพัฒนาเป็นรูปแบบการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมภาษาโคราช ด้วยกระบวนการการจัดการทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม
ผลการศึกษา พบว่า 1) บริบทและความสำคัญของภาษาโคราชกับความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครราชสีมา พบว่าภาษาโคราชถือเป็นภาษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สื่อถึงความเป็นโคราชหรือนครราชสีมา ยังนำมาถ่ายทอดด้านสุนทรียะผ่านเพลงโคราชแต่ด้วยจังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดขนาดใหญ่ ที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มอาศัยอยู่ จึงทำให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม รวมไปถึงวัฒนธรรมภาษาโคราชด้วยที่มีการเปลี่ยนแปลง 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมภาษาโคราชแบบมีส่วนร่วม พบว่า ภาษาก็เปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิตย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอการเปลี่ยนแปลงของภาษาจะดำเนินไปอย่างช้า ๆ จึงไม่ค่อยสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของภาษาได้ชัดเจน โดยมีสาเหตุจาก 1) ปัจจัยด้านเวลา 2) การขาดการติดต่อสมาคมระหว่างผู้พูดภาษา 3) การรับวัฒนธรรมและการผสมกันทางเชื้อชาติ 4) ปัจจัยด้านสังคม และ 5) ปัจจัยด้านแนวคิดและค่านิยม

References

กุมารี ลาภอาภรณ์ และศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร. (2560). การฟื้นฟูภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น: กรณีศึกษาคนสี่กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสกลนคร. วารสารภาษาและ

ภาษาศาสตร์, 35(2). 1-26.

เฉิน ผันผาย. (2547). การอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาชอง ตำบลตะเคียนทองและ ตำบลคลองพลู กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี [รายงานการวิจัยระยะที่ 2 ].

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ชินีเพ็ญ มะลิสุวรรณ. (2562). การดำรงอยู่ของภาษาถิ่นตากใบ (เจ๊ะเห) ในบริบทพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย [รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์].

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ถาวร สุบงกช. (2526). ภาษาถิ่นโคราช: การศึกษาในเชิงวิเคราะห์เรื่องเสียงและความหมาย. สมบูรณ์อ๊อฟเซ็ทการพิมพ์.

ธนิก เลิศชาญฤทธิ์. (2559). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ธาดา สุทธิธรรม. (2554). การอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสานในแนวทางการมีส่วนร่วม. มูลนิธิภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและศิลปะเอเชีย.

ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ และคณะ. (2542). โครงการอนุรักษ์พัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2518). ภาษาและภาษาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2541). ภาษาศาสตร์สังคม. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2560, 3 มีนาคม). สถานการณ์ภาษาและวัฒนธรรมไทใหญ่ภูมิภาคเหนือตอนล่งและการธำรงรักษา [รวมบทความวิจัย].

การประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 7. นครปฐม, ประเทศไทย.

Australia ICOMOS. (2023). Burra Charter & practice notes. https://www.australia.icomos.org/publications/burra-charterpractice-notes/

Comer, D. C. (1994). The SPAFA Unified Cultural Resource Management Guidelines for Southeast Asia. SPAFA.

Lipe, William. D. (1984). Value and Meaning in Cultural Resource. In Henry Cleere (Eds.), Approaches to the Archaeological Heritage

(pp. 1-11). Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27