ปัญหาความรับผิดทางอาญากรณีพระสงฆ์ เสพเมถุนโดยคู่กรณียินยอม

ผู้แต่ง

  • ยุทธศักดิ์ รัมมะเอ็จ นักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การเสพเมถุน, พระสงฆ์เสพเมถุน, ความผิดทางอาญา

บทคัดย่อ

การศึกษางานวิจัย เรื่องปัญหาความรับผิดทางอาญากรณีพระสงฆ์เสพเมถุนโดยคู่กรณีสมยอมนี้ ผู้เขียนได้ประมวลเอกสารทางพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎกอรรถกถา ฎีกา หนังสือ บทความเอกสารด้านกฎหมาย รวมทั้งแนวคิดและทฤษฎีจากตำราของนักวิชาการ ตลอดจนผลงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์ของงานวิจัยเพื่อศึกษาปัญหาความไม่เหมาะสมของกฎหมายในการลงโทษพระสงฆ์ที่เสพเมถุน โดยศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติกฎหมายในเรื่องของการเสพเมถุนของพระสงฆ์ในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งศึกษาค้นคว้าในประเด็นกฎหมายของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับพระธรรมวินัยในเรื่องการเสพเมถุน จากการศึกษาพบว่า แนวทางการพัฒนาทางเลือกในการป้องกันปัญหาพระภิกษุเสพเมถุนนั้น มีผู้เสนอทางเลือกที่ให้มีการใช้บังคับตามกฎหมายที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือ ไม่ควรกำหนดโทษทางอาญาแก่พระภิกษุที่เสพเมถุน โดยมีเหตุผลว่า การลงโทษในการกระทำความผิดตามพระธรรมวินัยเป็นกิจการของคณะสงฆ์โดยเฉพาะ ซึ่งรัฐไม่ควรเข้าแทรกแซง อย่างไรก็ตาม ผู้ศึกษามีความเห็นว่า รัฐมีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน และยังมีหน้าที่ช่วยป้องกันความเสื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนา หากมีการกำหนดบทลงโทษตามกฎหมายอาญาในกรณีดังกล่าว อาจทำให้เกิดความเกรงกลัวในการที่จะฝ่าฝืนพระธรรมวินัย กรณีนี้ จึงเห็นควรกำหนดให้มีการดำเนินคดีทางอาญาแก่พระภิกษุที่ละเมิดพระธรรมวินัยในกรณีต้องอาบัติปาราชิกสิกขาบท 1 ว่าด้วยการเสพเมถุน  นอกจากนี้พระสงฆ์ถือเป็นหนึ่งในพุทธบริษัทสี่ที่มีบทบาทและหน้าที่สำคัญในยุคปัจจุบันในการที่จะดำรงไว้ซึ่งการสืบต่อพระพุทธศาสนา การศึกษาหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาจะเน้นหลักการเรียนรู้สามประการ คือ 1) ปฏิบัติ 2) ปริยัติ และ 3) ปฏิเวธ ซึ่งเป็นหลักการปฏิบัติที่พระสงฆ์พึงต้องปฏิบัติ เพื่อให้ชีวิตประสบความสุขและความเจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระสงฆ์พึงต้องปฏิบัติตามกรอบแห่งพระธรรมวินัย ซึ่งในพระพุทธศาสนามีพระวินัยธรปรากฏชัดเจนทั้งพระภิกษุและพระภิกษุณีที่ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ในตำแหน่งเอตทัคคะทางพระวินัย คือ พระอุบาลีเถระ และพระปฏาจาราเถรี ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการฐานะคณะพระสงฆ์ผู้รักษาพระวินัย จึงถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของคณะสงฆ์เถรวาท เพราะเหตุแห่งการยึดถือและปฏิบัติตามพระวินัยอย่างเคร่งครัดสืบจนถึงปัจจุบันนี้

References

คฑารัตน์ เฮงตระกูล. (2552). การกำหนดความรับผิดทางอาญาของพระสงฆ์ที่อาบัติปาราชิกกรณีเสพเมถุน. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 2(1), 49-61.

ประชุม โฉมฉาย. (2521). ประวัติการปกครองคณะสงฆ์ไทย และลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ไทยโดยสังเขป. โรงพิมพ์มหามงกุฎราชวิทยาลัย.

พระไตรปิฎก เล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 25 ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 2 –พุทธวังสะ-จริยาปิฎก.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต. (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 22). มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535. (2535, 4 มีนาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 16 หน้า 5-11.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล

เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554, ราชบัณฑิตยสถาน.

สมเกียรติ นิลประพัฒน์. (2565). เอกสารประกอบการสอนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย. เอกสารสาขาวิชาการปกครอง. มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย.

สาริกา ค้าขาย. (2560). การกำหนดความผิดทางอาญา ศึกษากรณีการซื้อขายอวัยวะมนุษย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจสภาวะทางสังคมวัฒนธรรม และสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย พ.ศ. 2561. สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักสถิติแห่งชาติ.

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (2558). ช็อก พระเกษม รับชัดตุ๋ยลูกศิษย์ อ้างไม่รู้ตัว ไม่ผิดพระธรรมวินัย. ไทยรัฐออนไลน์. ฉบับลงวันที่ 17 มกราคม 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27