การสำรวจและวิเคราะห์ป้ายร้านค้าภาษาจีน กรณีศึกษา: ชุมชนจีนตลาดเก่าระนอง
คำสำคัญ:
ป้ายภาษาจีน, ชุมชนชาวจีน, ระนองบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาโครงสร้างของป้ายชื่อร้านค้าภาษาจีน จึงได้ทำการสำรวจเก็บข้อมูลป้ายชื่อร้านค้าภาษาจีนในชุมชนจีนตลาดเก่าระนอง ตั้งอยู่บนถนนเรืองราษฎร์ ตำบลเขานิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดระนอง จำนวนทั้งสิ้น 55 ร้าน เครื่องมือที่ใช้ในในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสำรวจ โดยแบ่งเป็นข้อมูลภาพ ที่ตั้ง ประเภทร้านค้า หมวดหมู่ ใช้สถิติพรรณาโดยแจกแจงค่าความถี่ และค่าร้อยละของจำนวนประเภทร้านค้า และโครงสร้างชื่อร้านค้า จาก
ผลสำรวจพบว่า เป็นร้านค้าประเภทของชำมากที่สุด จำนวน 14 ร้าน รองลงมาเป็นร้านขายทองคำ จำนวน 9 ร้าน ผลการศึกษาพบว่า ป้ายชื่อที่เป็นโครงสร้างเดี่ยว มีจำนวน 32 ร้าน แบ่งเป็นโครงสร้างเดี่ยวชื่อคนอย่างเดียวมีจำนวน 21 ร้าน คำทับศัพท์ มีจำนวน 7 ร้าน และคำมงคล 4 ร้าน ป้ายโครงสร้างผสมพบเป็นจำนวน 23 ร้าน แบ่งเป็น แซ่+ชื่อคน และส่วนประกอบอื่นที่ไม่บังคับปรากฏ มีจำนวน 12 ร้าน คำทับเสียงและส่วนประกอบอื่นที่ไม่บังคับปรากฏ จำนวน 4 ร้าน ชื่อสถานที่เป็นส่วนบังคับปรากฏและส่วนประกอบที่ไม่บังคับปรากฏ จำนวน 7 ร้าน
References
ชานนท์ เชาว์จิรพันธุ์ และนพธร ปัจจัยคุณธรรม. (2562). การศึกษากลวิธีการแปลชื่อร้านค้าภาษาจีนเป็นภาษาไทยในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2(2), 54-65.
เบญจอาภา พิเศษสกุลวงศ์. (2564). ความหมายที่สะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคลบนแผ่นป้ายชื่อร้านค้าภาษาจีนในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารศรีนครินทร์วิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 13(25), 61-72.
ปวีณา ภัทรสิริโรจน์,กชกร ชอบสวน, ณัฐฐณิชา อุดร, นภัสสร วงชารี, วาสิตา อยู่สว่าง, ศุภลักษณ์ ยะติน, อาทิตยา สุวรรณสุข, วัชรพล ศิริสุวิไล และรัชนี ปิยะธารชัย. (2566). การสำรวจและวิเคราะห์ป้ายชื่อร้านค้าภาษาจีนในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5(1), 111-122.
เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2555). การสำรวจและศึกษาวิเคราะห์ชื่อร้านค้าภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตอำเภอ เมืองจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(2), 64-86.
วนิดา เจริญศุข. (2532). นามสกุลของคนไทยเชื้อสายจีน: การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราลี รุ่งบานจิต, วรทา รุ่งบานจิต, วรนาภ แซ่เซ่น, วรากร แซ่พุ่น, ภากร นพฤทธิ์. (2562). การสำรวจและศึกษาการตั้งชื่อร้านค้าภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในอำเภอเมืองจังหวัดยะลา. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
วิไล ลิ่มถาวรานันต์. (2555). ชื่อร้านค้าภาษาจีนในประเทศไทย: แนวนิยมในการตั้งชื่อร้านค้ากับภาพสะท้อนบทบาทของชุมชนจีนในสังคมไทย. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุภัทรา โยธินศิริกุล. (2561). การศึกษาชื่อร้านทองคำภาษาจีนชองชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพฯ. วารสารภาษาศาสนาและวัฒนธรรม, 7(2), 202-230.
สุวรรณา ตั้งทีฆะรักษ์. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบความหมายของชื่อร้านที่สะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคลของคนไทยและคนจีน. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15(2), 45-56.
สำนักงานจังหวัดระนอง. (2566). ถนนประวัติศาสตร์ของระนอง. https://www. ranongcities.com/king/index.php?cmd=news_king&cate=2&id=8
蔡莹和王正琪(2017).从社会语言学的视角分析南昌市商业店名. 海外英语 , 2017(3),184-185.
郑梦娟. (2006). 当代商业店名的社会语言学分析.语言文字应用, 2006(3),11-19.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์