การปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ชานนท์ กุสุริย์ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด, ผู้วิจัย
  • วิชิต กำมันตะคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงาน, ประสิทธิภาพการสอน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด และ 4) สร้างสมการพยากรณ์การปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาจำนวน 18 คน และครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 317 คน รวม 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามตอนที่ 2 เท่ากับ 0.984 และตอนที่ 3 เท่ากับ 0.970 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสร้างสมการเพื่อพยากรณ์ตัวแปรตาม โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า 1) การปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาและรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
2) ประสิทธิภาพการสอนของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = .931 4) การปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด ร้อยละ 66.20 เมื่อเพิ่มด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมเข้าไป มีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 77.80 เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 11.60 เมื่อเพิ่มด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่ายเข้าไป มีอำนาจในการพยากรณ์ ร้อยละ 82.20  เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 4.40 เมื่อเพิ่ม ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการเข้าไป มีอำนาจในการพยากรณ์ ร้อยละ 85.60 เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 3.40 และเมื่อเพิ่มด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพเข้าไป มีอำนาจในการพยากรณ์ ร้อยละ 86.80 เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 1.20 ดังนั้น การปฏิบัติงานของผู้อำนวยการสถานศึกษา ทั้ง 5 ด้านจึงส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   

References

ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. (2544). มาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 Hurdles กับการจัดทํางบประมาณระบบใหม่. ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ตรีพร ชุมศรี. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ประโยชน์การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ ความสามารถของตนเอง และอิทธิพลระหว่างบุคคลกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นภาคใต้. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนภัทร วันทาพงษ์. (2016). ปัจจัยสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. Journal of Graduate School Sakon Nakhon Rajabhat University, 13(60), 141-150.

นพพร ล่ำสัน. (2559). ภาวะผู้นำและสมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของสถานศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(2), 136-149.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงานวิชาการ. บริษัท พิมพ์ดีจำกัด.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). เติบโตตามศักยภาพสู่ศตวรรษที่ 21 ของการศึกษาไทย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพเราะ กาญจนสิงห์. (2551). แนวทางพัฒนาการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองแม่สอด [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ลวัณรัตน์ ชัยกิจธนาภรณ์. (2560). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วารสารศึกษาศาสตร์ ม.มร, 5(1), 1-16.

สมรักษ์ กิจเดช. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานนิเทศของผู้บริหารกับประสิทธิภาพการสอนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสน่ห์ แตงทอง. (2542). ภาพอนาคตทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในทศวรรษหน้า: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านคลองตัน [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด. (2565). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด.

หทัยชนก แซ่เฮ้า. (2560). กระบวนการนิเทศภายในที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของพนักงานครูสังกัดเทศบาลในจังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

Campbell. (1971). Education Administration. University of Michigan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27