การทำงานที่บ้านและแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร ทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในช่วงการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)
คำสำคัญ:
การทำงานที่บ้าน, แรงจูงใจในการทำงาน, การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาบทคัดย่อ
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) มหาวิทยาลัยได้นำแนวคิดการทำงานที่บ้าน (Work From Home) มาปรับใช้ให้สอดคล้องตามมาตรการของรัฐบาลในการลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค อย่างไรก็ตามการทำงานที่บ้านมีทั้งด้านบวกและด้านลบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องหาแนวทางหรือจุดลงตัวร่วมกันเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน และประสิทธิผลในการทำงาน การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการทำงานที่บ้านของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) 2) แรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงาน ของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานที่บ้าน กับแรงจูงใจในการทำงาน ของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ประชากร ได้แก่ บุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 92 คน ซึ่งคำนวณกลุ่มตัวอย่าง
ได้จำนวน 73 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูป Krejcie and Morgan และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ
เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการทำงานที่บ้านของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (2) ระดับความคิดเห็นต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
(3) เพศ และประสบการณ์ในการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่แตกต่างกันส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานโดยภาพรวมที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่อายุไม่พบความแตกต่าง และ (4) พฤติกรรมการทำงานที่บ้านกับแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) โดยภาพรวมไม่มีความสัมพันธ์กัน
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 14). สามลดา.
กานดา จันทร์แย้ม. (2556). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. โอเดียนสโตร์.
กิจจา บานชื่น และกณิกนันต์ บานชื่น. (2559). หลักการจัดการ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ทัศนีย์ รัตนวงศ์แข. (2562, 19 มีนาคม). ปัจจัยด้านแรงจูงใจต่อการทำงานของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า 3
สถาบัน. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 11 (NCTechED 11th) กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.
ธนพร การชงัด และปฏิมา ถนิมกาญจน์. (2565). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 16(2), 15-28.
นรินทิพย์ ฉลาดพนจนพร. (2564). วิชาชีพบัญชีในภาวะวิกฤตโรคระบาด: ผลกระทบและการปรับตัวในภาวะแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19), วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 4(3), 33- 41.
นิราวัลย์ ศรีทอง. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกเขตพื้นที่บางพระ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยบูรพา]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. สุวีริยาสาส์น.
บุรินทรวรวิทย์ พ่วนอุ๋ย, อนุชิต บูรณพันธ์ และมัทนา วังถนอมศักดิ์. (2565). แรงจูงใจการทำงานในยุคปรกติใหม่. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(4), 27-244.
พัชราภรณ์ สันติเสวี. (2565). การทำงานให้ประสบความสำเร็จในวิถีชีวิตของการทำงานใหม่. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(4), A-21-28.
พรพรรณ ราชแสง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
พรสุภา ดอกพุฒ. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่งานการเงินและบัญชี สำนักงานทางหลวงในเขตพื้นที่ภาคเหนือ กรมทางหลวง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
วดี นิลเปลี่ยน (2563) ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์นิติรัฐศาสตร์, 4(1), 1-26.
สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2553). พฤติกรรมองค์การ: ทฤษฎีและการประยุกต์. สามลดา.
สิริกร กุมภักดี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีพังโคนพณิชการ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร]. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
อธิพงษ์ ภูมีแสง, วิยุทธ์ จำรัสพันธ์ และอาริยา ป้องศิริ. (2564). การประยุกต์ใช้นโยบายรัฐบาลดิจิทัลในการทำงานจากที่บ้านของภาครัฐไทยในภาวะวิกฤติ COVID-19. วารสารการปกครอง, 10(2), 289-312.
อัญธิการต์ จีนศรี. (2564). แรงจูงใจและความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 69-78.
อินทรา พหลสิทธิวงศ์ และจิรพงษ์ จันทร์งาม. (2565). อิทธิพลด้านความรู้ในวิชาชีพบัญชีและแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการเงินในสังกัดสำนักงานศาลยุติธรรมประจำภาค 5 และภาค 6. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(12), 296-309.
Anakpo, G., Nqwayibana, Z., & Mishi, S. (2023). The Impact of Work-from-Home on Employee Performance and Productivity: A Systematic Review. Sustainability, 15(5), 4529.
Çoban, S. (2022). Gender and telework: Work and family experiences of teleworking professional, middle‐class, married women with
children during the Covid‐19 pandemic in Turkey. Gender, Work & Organization, 29(1), 241-255.
Gigauri, I. (2020). Effects of Covid-19 on Human Resource Management from the Perspective of Digitalization and Work-life-balance. International Journal of Innovative Technologies in Economy, 4(31), 1-10.
Hitka M, Rozsa Z, Potkany M, Lizbetinova L. (2019). Factors forming employee motivation influenced by regional and age-related differences. J Bus Econ Manag 20(4), 674–693.
Jabin, S. (2021). The Impact of Covid-19 on the accounting profession in Bangladesh. The Journal of Industrial Distribution & Business, 12(7), 7-14.
Koziol, L., & Koziol, M. (2020). The concept of the trichotomy of motivating factors in the workplace. Central European Journal of Operations Research, 28, 707-715.
Purwanto, A., Asbari, M., Fahlevi, M., Mufid, A., Agistiawati, E., Cahyono, Y., & Suryani, P. (2020). Impact of work from home (WFH) on
Indonesian teachers’ performance during the Covid-19 pandemic: An exploratory study. International Journal of Advanced Science and Technology, 29(5), 6235-6244.
Susilo, D. (2020). Revealing the effect of work-from-home on job performance during the COVID-19 crisis: Empirical evidence from Indonesia. Journal of Contemporary Issues in Business and Government, 26(1), 23-40.
Vo, T. T. D., Tuliao, K. V., & Chen, C. W. (2022). Work Motivation: The Roles of Individual Needs and Social Conditions. Behavioral ciences, 12(49), 1-19.
Weinert, C., Maier, C., & Laumer, S. (2015). Why are teleworkers stressed?: An empirical analysis of the causes of telework-enabled stress. Smart enterprise engineering: 12. Internationale Tagung Wirtschaftsinformatik (WI 2015); Tagungsband; 4. bis 6. März 2015, 1407-1421.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์