ฟ้อนแขบลาน: รูปแบบ บทบาทหน้าที่ และคุณค่าต่อสังคม ของการแสดงสร้างสรรค์จากประเพณีชุมชนไทหล่ม

ผู้แต่ง

  • จันทร์พิมพ์ มีเปี่ยม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

ฟ้อนแขบลาน, ประเพณีชุมชน, ไทหล่ม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการและรูปแบบของฟ้อนแขบลาน และ 2) ศึกษาบทบาทหน้าที่ของฟ้อนแขบลาน การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้นำข้อมูลที่รวบรวมได้จากการสังเกตแบบมีส่วนรวมและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องฟ้อนแขบลาน จำนวน 6 คน และนำมาทำการวิเคราะห์ แยกแยะเป็นประเด็นต่าง ๆ โดยใช้การพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา ภายใต้กรอบแนวคิดในพัฒนาการและรูปแบบของฟ้อนแขบลาน แนวคิดบทบาทหน้าที่ของฟ้อนแขบลานในทางสังคมวิทยาชนบทและแนวคิดทฤษฎีการจัดระเบียบทางสังคมชนบท

ผลการศึกษา พบว่า พัฒนาการและรูปแบบของฟ้อนแขบลานมีการพัฒนาจากอดีตสู่ปัจจุบัน จากการสร้างสรรค์ของชุมชนเอง และการสร้างสรรค์ของภาควิชาการ ทั้งในด้านดนตรีที่มีการพัฒนารูปแบบให้มีความทันสมัยมากขึ้น ด้านการแต่งกายมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับชุมชนท้องถิ่นในปัจจุบัน ด้านอุปกรณ์มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะกับปัจจุบัน และด้านท่ารำที่ใช้ประกอบการฟ้อนแขบลาน มีความชัดเจน และมีความเป็นมาตรฐานมากขึ้น มีความเหมาะสมกับยุคสมัยในปัจจุบันซึ่งเป็นการอนุรักษ์สืบสานในการฟ้อนแขบลานให้คงอยู่คู่ชุมชน และผลการศึกษาบทบาทหน้าที่ของฟ้อนแขบลาน พบว่า การฟ้อนแขบลานในประเพณีชุมชนไทหล่ม มีบทบาทหน้าที่ และคุณค่า ในแง่ด้านการให้การศึกษา ด้านเครื่องมือในการรวมตัวของสังคม ด้านการยึดเหนี่ยวจิตใจ ด้านสื่อมวลชนของท้องถิ่น นอกจากนั้น ยังมีคุณค่าต่อสังคมท้องถิ่น และสังคมภายนอก ในด้านสภาพชีวิตความเป็นอยู่ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และด้านค่านิยม

References

กรมศิลปากร. (2549). ทะเบียนข้อมูล วิพิธทัศนาชุดระบำ รำ ฟ้อน. บริษัท ไทภูมิพับลิซซิ่ง จำกัด.

ชวลิต สุนทรานนท์ (2550). ทะเบียนข้อมูล: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน เล่ม 1. บริษัท ไทภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด.

ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์. (2558). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

น้อย ศรีป้อ. (2524). เอกลักษณ์ไทย. โรงพิมพ์การศาสนา.

บุษบา มีเดช, และมณฑา วงศา. (2533). นาฏยประดิษฐ์ฟ้อนแขบลาน [ผลงานค้นคว้าและริเริ่มทางนาฏศิลป์ ปริญญาตรีที่ไม่มีการตีพิมพ์]. วิทยาลัยครูเพชรบูรณ์.

ประชิด สกุณะพัฒน์. (2546). วัฒนธรรมพื้นบ้านและประเพณีไทย. ภูมิปัญญา.

ประเสริฐ ณ นคร. (2516). โคลงนิราศหริภุญชัย. โรงพิมพ์พระจันทร์.

ปรีชา หวานหู. (2560). วิญญาณศรัทธาตามวิถีไทยในวิถีพุทธ. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 22(1), 53-62.

พวงผกา ประเสริฐศิลป์. (2542). ประเพณีไทยกับการเปลี่ยนแปลงตามกระแสวัฒนธรรมโลก. สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูล. (2546). ศิลปวัฒนธรรมไทย. วังอักษร.

ภัทรพล พิมพา. (2559). บุญบั้งไฟผาแดง: ความเชื่อและความศรัทธาของชุมชน. ใน กมล บุญเขต (บ.ก.), สมบัติเมืองเพชรบูรณ์ (น. 88-89). บริษัท ทีแอนท์เอ กราฟิก แอนด์ พริ้นติ้ง จำกัด.

รัตนา มณีสิน. (2540). สุนทรียะทางนาฏศิลป์ไทย. สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. ราชบัณฑิตยสถาน.

เรไร ไพรวรรณ์. (2553). คติชนและภูมิปัญญา. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ลักขณา ศกุนะสิงห์. (2556). ความเชื่อและประเพณี เกิด แต่งงาน ตาย. พราวเพรส.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2550). สังคมวิทยาชนบท: แนวคิดทางทฤษฎีและแนวโน้มในสังคม. เอ็กซเปอร์เน็ท.

สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์. (2542). ประวัติหมู่บ้าน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. [เอกสารไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

สุพัตรา สุภาพ. (2542). สังคมและวัฒนธรรมไทย ค่านิยม ครอบครัว ศาสนา ประเพณี (พิมพ์ครั้งที่ 10). ไทยวัฒนาพานิช.

สุมิตร เทพวงษ์. (2535). สารานุกรม ระบำ รำ ฟ้อน (พิมพ์ครั้งที่ 3). โอเดียนสโตร์.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2549). นาฏยศิลป์รัชกาลที่ 9. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์. บทสัมภาษณ์

จิรวัฒน์ รัตนเทพบัญชากุล. (2566). บทสัมภาษณ์. วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566.

ช่วงวิทย์ เทียนศรี. (2563). บทสัมภาษณ์. วันที่ 10 มกราคม 2566.

ทรวดทรง ยอดคำ. (2566). บทสัมภาษณ์. วันที่ 15 มกราคม 2566.

บุญส่ง ไตรวิทย์เมธี. (2566). บทสัมภาษณ์. วันที่ 15 มกราคม 2566.

วิโรจน์ หุ่นทอง. (2566). บทสัมภาษณ์. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566

วุฒิชัย ลาจันนนท์. (2566). บทสัมภาษณ์. วันที่ 9 มกราคม 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30