แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการแก่นักศึกษา ของภาควิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ผู้แต่ง

  • ชรินธร จินดา เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ภาควิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, คุณภาพการให้บริการ, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของภาควิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการแก่นักศึกษาของภาควิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยจำแนกตามเพศ ชั้นปีและสาขาวิชา 3) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของภาควิชา ประชากร คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 621 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ภาควิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี                 พระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 243 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิ โดยแบ่งชั้นภูมิตามระดับการศึกษา และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ซึ่งจะสุ่มจากบัญชีรายชื่อนักศึกษาตามชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ
เชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การประมาณค่าแบบช่วงของค่าเฉลี่ย สถิติทดสอบ T-Test และ One-Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 160 คน คิดเป็นร้อยละ 65.80 อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 21-25 ปี จำนวน 146 คน คิดเป็นร้อยละ 60.10 เป็นนักศึกษาสาขาวิชาสถิติธุรกิจและการประกันภัย จำนวน 104 คน คิดเป็นร้อยละ 42.80 อยู่ชั้นปีที่ 3 จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 29.60 โดยในภาพรวมนักศึกษามีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของภาควิชาทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับพอใจมาก และจากผลการเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศและสาขาวิชาต่างกันให้ความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการไม่แตกต่างกันและกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่างกันให้ความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการแตกต่างกันในด้านบุคลากรที่ให้บริการ และด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จากการวิเคราะห์ข้อมูลจึงได้แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของภาควิชา ดังนี้ 1) ด้านบุคลากรที่ให้บริการควรพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้สามารถแสดงออกถึงความรู้และประสบการณ์มากกว่าเดิม และคอยให้คำแนะนำขณะใช้บริการ 2) ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการควรมีการแจ้งหรือประชาสัมพันธ์ลำดับขั้นตอนการทำงานให้ชัดเจน 3) ด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต้องจัดเตรียมที่นั่งรอและอุปกรณ์เครื่องเขียนไว้ให้เพียงพอ 4) ด้านคุณภาพการให้บริการเพิ่มช่องทางการรับฟังความคิดเห็น เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข
การให้บริการให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ และตรงตามความต้องการของผู้มาใช้บริการ

References

กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. จำนวนนักศึกษาปัจจุบันทั้งหมด. (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565). http://acdserv.kmutnb.ac.th/student_statistics

กุลฉัตร กิ้มซ้าย. (2561). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกระบวนการปฏิบัติงานด้านการให้บริการของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. [รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ กองทุนส่งเสริมการวิจัย]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ฐิติกาญจน์ ขวัญไฝ และคณะ. (2562). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการให้บริการของภาควิชาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 6(1), 74-84.

ตรีเพ็ชร์ อ่ำเมือง. (2555). วิจัยกระบวนการให้บริการของทีมเลขานุการผู้บริการ. [รายงานการวิจัย]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

น้ำลิน เทียมแก้ว. (2561). การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2560. [รายงานการวิจัยสำนักวิทยบริการ]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2547). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). สุวีริยาสาส์น.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2554. (2554, 25 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 128 ตอนพิเศษ 47 ง. หน้า 44-46.

พลฤทธิ์ จิระเสวี. (2550). การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลตา หู คอ จมูก. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนคร].

มณฑกานต์ ฉิมเกิด และสุธรรม พงศ์สำราญ. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของฝ่ายวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารเกษมบัณฑิต, 18(1), 36-51.

วัลลภ สงวนศักดิ์. (2554). คุณภาพการให้บริการงานทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตามการรับรู้ของนักศึกษา. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย].

สุภัสสรา วิภากูล. (2561). คุณภาพการให้บริการที่เป็นเลิศกับความประทับใจของผู้ใช้บริการในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(2), 20-33.

Aaker, D. A. (2004). Building strong brands. Free.

Cull, Rowena. (2001). Perspectives on User Satisfaction Surveys. Library Trends.

Etzel, M. J. (2014). Marketing. (12th ed). Mc Graw–Hill.

Jimenez, V., Alberto, M., Lopez, L., Adan, D., Arroyo, A., & Apolinar, J. (2019). Application of the SERVQUAL model to evaluate the quality in the transportation service in Morelia. Mexico, DYNA, 86(211), 64-74.

Lewis, R. C., & Booms, B. H. (1983). The marketing aspects of service quality. American Marketing Association.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12–40.

Schmenner, R. W. (1995). Service operations management. Englewood Cliff, Prentice–Hall.

Yamane, T. (1973). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Edition. Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30