กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการสร้างมาตรการ ในการคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • มนัสนันท์ ปิ่นพิทักษ์ อาจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุในท้องถิ่น, ทุนมนุษย์, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการณ์อย่างมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการสร้างมาตรการในการคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในท้องถิ่น กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยคือประชาชนผู้สูงอายุเขตพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 200 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพที่จะถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชนได้ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ กระบวนการการสนทนากลุ่ม มีกิจกรรมกลุ่มเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างทุนมนุษย์ให้กับผู้สูงอายุในท้องถิ่น  โดยมีผู้วิจัยเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เรื่องทุนมนุษย์ การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค และกิจกรรมการบรรยายเบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิผู้สูงอายุ เพื่อเสริมสร้างความรู้ให้กับประชากรกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีประสบการณ์เป็นทุนมนุษย์ที่ดีอยู่แล้ว สามารถที่จะต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนพื้นที่ของตนเองได้ แต่ยังขาดความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญ รวมถึงยังไม่มีการจัดการความรู้เกี่ยวกับทุนมนุษย์ 2) ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิผู้สูงอายุเฉพาะเรื่องเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุเท่านั้น และ สิทธิที่ผู้สูงอายุให้ความสำคัญเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การได้รับการเพิ่มเบี้ยยังชีพ การลดค่าโดยสารในบริการขนส่งสาธารณะที่เป็นรถโดยสารของรัฐที่มีอยู่ในปัจจุบัน และการได้รับการสนับสนุนการรวมตัวจัดกิจกรรมทางสังคมจัดกิจกรรมทางกีฬา นันทนาการ และการถ่ายทอดภูมิปัญญา การได้รับการสนับสนุนด้านประกอบอาชีพและฝึกอาชีพที่เหมาะสม การได้รับสิทธิเข้าถึงทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่สะดวก รวดเร็ว โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

References

กุศล สุนทรธาดา, และสุริยาพร จันทร์เจริญ. (2557). โครงการวิจัยจัดทำแนวทางการดำเนินการและกลไกระดับชาติในการขับเคลื่อนนโยบายการจ้างงานผู้สูงอายุ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (2562). รายงานการสำรวจความต้องการในการรับบริการวิชาการประจำปีงบประมาณ 2561. [เอกสารอัดสำเนา]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

นงนุช สุนทรชวกานต์; และ สายพิณ ชินตระกูลชัย. (2552). โครงการวิจัยการสร้างโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุ. ศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2556). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).

พรชัย ฐีระเวช, วุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล, สุภัค ไชยวรรณ, เบญจมาศ มหาวงศ์ขจิต, สิทธิรัตน์ ดรงคมาศ, ศิวัสน์ เหลืองสมบูรณ์, และชาญณรงค์ จางกิตติรัตน์. (2555). โครงการวิจัยการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ แนวโน้มรายจ่ายด้านสวัสดิการสังคมของภาคสาธารณะเมื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ. สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง.

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. (2546, 31 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 130 ก หน้า 1-31.

ระวี สัจจโสภณ. (2556). แนวคิดทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมสังคมศาสตร์. 34(3), 471-490.

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2556). ประชากรสูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต. [เอกสารไม่มีการตีพิมพ์]. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

อาชัญญา รัตนอุบล, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, ปาน กิมปี, และระวี สัจจโสภณ. (2553). รายงานประจำปี สถานการณ์ผู้สูงอายไทย พ.ศ. 2553. https://www.dop.go.th/download/knowledge/knowledgeth_201601061414401.pdf

Bongaarts, John. (2004). Population Aging and the Rising Cost of Public Pensions. Population & Development Review. 30(1), 1-23.

Elmeskov, Jørgen. (2004). Aging, Public Budgets, and the Need for Policy Reform. Review of International Economics. 12(2), 233–242.

Stringer, Ernest. T. (1996). Action research. SAGE Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30