ข้อพิจารณาความเป็นสัญญาทางปกครอง
คำสำคัญ:
พิจารณา, สัญญาทางปกครองบทคัดย่อ
สัญญาทางปกครองเป็นการกระทำทางปกครองที่มีคู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนรัฐ และมีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน สัญญาที่ให้จัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค หรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ตามบทนิยามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และมติที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ครั้งที่ 6/2544 ได้พัฒนาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความสัญญาทางปกครองเพิ่มเติม โดยเป็นสัญญาที่หน่วยงานทางปกครองหรือบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐตกลงให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเข้าดำเนินการหรือเข้าร่วมดำเนินการบริการสาธารณะโดยตรง หรือเป็นสัญญาที่มีข้อกำหนดในสัญญา ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ของรัฐ เพื่อให้การใช้อำนาจทางปกครองหรือการดำเนินกิจการทางปกครองบรรลุผล นอกจากนี้ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยังได้วางแนวทางการวินิจฉัยเพิ่มเติมว่า สัญญาใดจะเป็นสัญญาทางปกครองต้องพิจารณาวัตถุแห่งสัญญาที่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การบริการสาธารณะบรรลุผลด้วยเช่นกัน ดังนั้น การพิจารณาความเป็นสัญญาปกครองจึงต้องนำหลักเกณฑ์หลายอย่างมาประกอบการพิจารณา ซึ่งในแง่หนึ่งก็เป็นไปตามเจตจำนงของฝ่ายนิติบัญญัติที่กำหนดคำว่า “หมายความรวมถึง” เอาไว้ในนิยามความหมายของสัญญาทางปกครอง ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งต้องการเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาหลักเกณฑ์ของสัญญาทางปกครองในอนาคต แต่ในอีกแง่หนึ่ง ความเป็นสัญญาทางปกครองก็ขาดความชัดเจนแน่นอนในหลักกฎหมาย จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมนิยามของสัญญาทางปกครองมาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ให้มีความครอบคลุมชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรืออาจมีการตราพระราชบัญญัติเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองขึ้นมาโดยเฉพาะ แยกจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
References
คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล. (2555). ปัญหาเขตอำนาจศาลเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง: การตีความของศาลและคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล. (รายงานประจำปี).
นิรัชรา พงศ์อาจารย์. (2562). ทิศทางของสัญญาทางปกครองในระบบกฎหมายไทย. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 12(2), 113-146.
บุบผา อัครพิมาน. (2545). สัญญาทางปกครอง : แนวคิดและหลักกฎหมายของฝรั่งเศสและของไทย. กรุงเทพฯ: สวัสดิการด้านการฝึกอบรมสำนักงานศาลปกครอง.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2549). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง: หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองและการกระทำทางปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
สุภาวินี จิตต์สุวรรณ์. (2546). สัญญาสัมปทาน. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
สำนักพัฒนาระบบงานคดีปกครอง. (2551). คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.
อริยพร โพธิใส. (2554). คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง. จุลนิติ, 8(1), 177-185.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์