การปรับตัวของผู้หญิงในการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวภายใต้อุดมการณ์ชายเป็นใหญ่

ผู้แต่ง

  • หทัยชนก วงศ์เสนา คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • เบญจวรรณ บุญโทแสง คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

แม่เลี้ยงเดี่ยว, การปรับตัว, ผู้หญิง, อุดมการณ์ชายเป็นใหญ่

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้หญิงในการเป็นแม่ เลี้ยงเดี่ยว 2) เพื่อศึกษาการปรับตัวของผู้หญิงในการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคของผู้หญิงในการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นเชิงคุณภาพ ผู้ศึกษาได้นำข้อมูลที่รวบรวมได้จากการสังเกตแบบมีส่วนรวมและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 14 คน มาทำการวิเคราะห์ แยกแยะเป็นประเด็นต่างๆ โดยใช้การพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายของการศึกษา ภายใต้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับผู้หญิงและความเป็นหญิง แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นแม่ แนวคิดเกี่ยวกับ แม่เลี้ยงเดี่ยว แนวคิดเกี่ยวกับอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ แนวคิดเกี่ยวกับการปรับตัว เพื่อทำให้สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาที่รวบรวมประเด็นได้อย่างมีระบบ ผลการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของผู้หญิงในการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว พบว่า แม่เลี้ยงเดี่ยวมีบทบาทหน้าที่ 6 ประการ คือ 1) หน้าที่ตอบสนองความต้องการของสมาชิกในทางชีวภาพ 2) หน้าที่ตอบสนองความต้องการของสมาชิกด้านอารมณ์ 3) หน้าที่ผลิตสมาชิกใหม่ให้กับสังคม 4) หน้าที่กำหนดสถานภาพของบุคคล 5) หน้าที่เลี้ยงดูอบรมสมาชิกใหม่ 6) หน้าที่ควบคุมความสัมพันธ์ทางเพศและการอยู่เป็นครอบครัว 7) หน้าที่ในการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจและสถานภาพทางสังคม ส่วนผลการศึกษาเกี่ยวกับการปรับตัวและปัญหาในการปรับตัวของแม่เลี้ยงเดี่ยว พบว่า แม่เลี้ยงเดี่ยวมีการปรับตัวและปัญหาในการปรับตัว 3 ลักษณะ คือ 1) ด้านร่างกาย ที่เกิดจากความเครียด 2) ด้านการเผชิญปัญหาและการตอบโต้ปัญหาโดยอัตโนมัติ 3) ด้านการใช้กลไกป้องกันทางจิต

References

จริยาภรณ์ ปิตาทะสังข์. (2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตของครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ประสบความสำเร็จ (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยบูรพา).

จิราพร ชมพิกุล และคณะ (2552). สัมพันธภาพในครอบครัวคนไทย. นครปฐม: เอ็นแอนด์เอ็น ก๊อปปี้แอนด์พริ้นติ้ง.

จีรนันท์ พิมถาวร. (2556). ลักษณะและรูปแบบการดำเนินชีวิตของมารดาในครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวกรณีศึกษากลุ่มมูลนิธิเครือข่ายครอบครัวในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาประยุกต์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ฐิติกาญจน์ อินทาปัจ. (2553). การสร้างความเข้มแข็งทางใจและการปรับตัวต่อ วิกฤติการณ์ของครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ณฐาภรณ์ ซื่อมาก. (2544). การปรับบทบาทการเป็นแม่ของมารดาที่มีบุตรกลุ่มอาการดาวน์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

พฤฒินี นนท์ตุลา. (2550). การปรับตัวของครอบครัวที่มีสตรีเป็นหัวหน้าครอบครัวภายหลังการหย่าร้าง. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การพยาบาลครอบครัว, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

วฤษสพร ณัฐรุจิโรจน์. (2560). ครอบครัวทางเลือกและการคงอยู่ของสถาบันครอบครัว. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยมหิดล).

วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2543). ความเป็นหญิงในสังคมไทย. วารสารสังคมศาสตร์, 12(2), 134-160.

สนธยา พลศรี. (2545). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สุญารินทร์ สิทธิวงศ์. (2544). ความเครียดในบทบาทหน้าที่ครูและการให้คุณค่าในงานของครู กลุ่มโรงเรียนนางแดด สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ หนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. (ปริญญานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สุพัตรา สุภาพ. (2545). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.

อภินดา ชัยมานะเดช. (2562). ปัจจัยทางจิตและสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมตามบทบาทของพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารร่มพฤกษ์, 37(1), 35-41.

อรอุมา อสัมภินวัฒน์. (2562). รูปแบบการดำเนินชีวิตของแม่เลี้ยงเดี่ยวเชิงพุทธ บูรณาการ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3), 487-1508.

McCubbin, H. I., & Patterson, A. (1983). Stress and the family Vol.1: coping with normative transition. New York: Brunner Mazer.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28