องค์รวมในฐานะหลุมพรางทางสังคมศาสตร์ กับเรื่องสุขภาพในสังคมไทย: การคืบคลานของโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์เดิม สู่โลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์ใหม่

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ บุญโทแสง คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

บทความนี้ ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอให้เห็นกระบวนการสถาปนาความเป็นองค์รวม อันเป็นแบบแผนที่มีความสำคัญและมีผู้นำไปใช้กันอย่างกว้างขวาง หากแต่การนำองค์รวมไปใช้นั้นเป็นไปอย่างสับสนปนเปและบิดเบือน ซึ่งในทัศนะของผู้เขียนแล้ว ความเข้าใจแบบแผนและความเป็นองค์รวมอย่างถ่องแท้เป็นเรื่องยากมากกว่าคำพูดหรือวาทกรรมทั่วไปที่หมายถึงการกระทำผ่านวาทะหรือภาษาของมนุษย์ ฉะนั้นแล้ว ในมุมมองของผู้เขียน องค์รวมจึงมิใช่เพียงการมองทุกอย่างหรือนำทุกอย่างมาผสมรวมกันอย่างผิวเผินเพียงหลวมๆ เท่านั้น หากแต่เป็นแบบแผนเฉพาะตัวที่สลับซับซ้อน หลากหลาย และมีปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงกับหน่วยชีวิตทุกสรรพสิ่งอย่างไม่แยกขาดออกจากกัน องค์รวมจึงเป็นระบบ กระบวนการ และรูปแบบที่ลื่นไหลและมีพลวัตอยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญองค์รวมเป็นผลผลิตของโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์ดั้งเดิมที่ว่าด้วยทัศนะการแยกส่วนและการลดทอน แล้วก้าวเข้าสู่โลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์ใหม่หรือฟิสิกส์แนวใหม่ที่ว่าด้วยทฤษฎีควอนตัมและทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ องค์รวมจึงเป็นเสมือนหลุมพรางทางสังคมศาสตร์ที่ไม่อาจหนีพ้นปริมณฑลของโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์ ไม่เว้นแม้แต่ปรากฏการณ์เรื่องสุขภาพในสังคมไทยที่มักถูกกล่าวอ้างว่าเป็นสุขภาพองค์รวม

References

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2547). หลักสูตรพยาบาลศาสตร
บัณฑิต. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2554. จาก: http://nurse.tu.ac.th/ menu_การศึกษา.htm#k2 (วันที่ค้นข้อมูล : 15 มีนาคม 2554).

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2547). หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต.
สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2554). จาก: ftp://www.law.tu.ac.th/Website/ .../MD%20หลักสูตรแพทย์ฯ%20.doc

คณะรัฐมนตรี. (2552). ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 1. (ร่างฉบับ
สมบูรณ์). ผ่านความเห็นชอบจาก คสช. ในการประชุมครั้งที่ 1/ 2552.

คูห์น ทอมัส เอส. (2544). โครงสร้างของการปฏิวัติในวิทยาศาสตร์. แปลโดย สิริเพ็ญ
พิริยจิตรกรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ไชยันต์ ไชยพร, (บรรณาธิการ). (2547, 1 มกราคม-มิถุนายน). “ปรัชญาการเมือง 2:
องค์รวม” ใน วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (35).

พระไพศาล วิสาโล (บรรณาธิการ). (2536). “สุขภาพองค์รวม (Holistic Health)”.
ในองค์รวมแห่งสุขภาพ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

เบญจวรรณ บุญโทแสง. (2560). ความเป็นอื่นบนวาทกรรมการพัฒนาในวิถีชุมชน
มอแกน. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์. (1)(1)

พิพัฒน์ พสุธารชาติ. (2552). องค์รวม: บทวิพากษ์ว่าด้วย วิทยาศาสตร์ และศาสนาใน
สังคมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศยาม.

ฟริตจ๊อฟ คาปร้า. (2536). เต๋าแห่งฟิสิกส์. แปลโดย วเนช. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:
สามัคคีสาร (ดอกหญ้า).

_______ . (2549). จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ 1 ทัศนะแม่บทเพื่อการปฏิวัติวัฒนธรรม
ใหม่. แปลโดย พระประชา ปสนฺนธมฺโม, พระไพศาล วิสาโล, สันติสุข โสภณสิริ, รสนา โตสิตระกูล. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

_______ . (2543). จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ 2 ทัศนะแม่บทเพื่อการปฏิวัติวัฒนธรรม
ใหม่. แปลโดย พระประชา ปสนฺนธมฺโม, พระไพศาล วิสาโล, สันติสุข โสภณสิริ, รสนาโตสิตระกูล. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

_______ . (2544). จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ 3 ทัศนะแม่บทเพื่อการปฏิวัติวัฒนธรรม
ใหม่. แปลโดย พระประชา ปสนฺนธมฺโม, พระไพศาล วิสาโล, สันติสุข โสภณสิริ, รสนา โตสิตระกูล. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

_______ . (2553). โยงใยที่ซ่อนเร้น. แปลโดย วิศิษฐ์ วังวิญญู, ณัฐฬส วังวิญญู, สว่าง
พงศ์ศิริพัฒน์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.

มนตรี ภู่มี. (2545). สุขภาพแบบองค์รวม. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.

วีระ สมบูรณ์. (2550). แบบแผนและความหมายแห่งองค์รวม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมล.

สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ. (2540). บทวิพากษ์คูห์น ในเรื่องการเปลี่ยนแพราไดม์.
กรุงเทพฯ: วิภาษา.

สุขภาพแบบองค์รวม. สืบค้นวันที่ 15 มีนาคม 2554. จาก: http://www.oknation.
net/blog/ tonrak/2007/10/23/entry-1

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2550). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.
2550.

อำพล จินดาวัฒนะ. (2551). “พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติกับ อปท.” ใน เอกสารการ
ประชุมสัมมนาสายสัมพันธ์สาธารณสุขท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

โอคาซา ซาเมียร์. (2549). ปรัชญาวิทยาศาสตร์โดยสังเขป. แปลโดย จุไรรัตน์
จันทร์ธำรง. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-01