การศึกษาระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียง ของเทศบาลตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ บุญโทแสง คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด https://orcid.org/0000-0002-0711-9640
  • อภิรักษ์ บูรรุ่งโรจน์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ธรรมรัตน์ สินธุเดช คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • วุฒิชัย ตาลเพชร คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • วาสนา เลิศมะเลา คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, เทศบาลตำบลท่าม่วง

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลตำบลท่าม่วง โดยอาศัยตัวชี้วัดหลัก 5 ตัวชี้วัด ภายใต้กรอบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองในระดับตำบลตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร แนวคิดทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องการสังเกตแบบมีส่วนร่วม หลักฐานเชิงประจักษ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งเป็นบุคลากรในเทศบาลตำบลท่าม่วงและประชาชนในชุมชน โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จัดหมวดหมู่ ตีความ และนำเสนอผลการศึกษาด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า เทศบาลตำบลท่าม่วงมีระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับเข้าข่ายหรือองค์กรแห่งความยั่งยืน เนื่องจากมีการดำเนินครบทุกประเด็นตามตัวชี้วัด ได้แก่ มีการบริหารงานอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล และไม่มีการทำผิดกฎหมาย มีการวางแผนและจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วม และมีการวางแผนการทำงานเพื่อส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยิ่งไปกว่านั้นเทศบาลตำบลท่าม่วงยังเป็นองค์กรที่มีระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงในระดับเข้าใจหรือเป็นองค์กรแห่งความสุข นั่นคือ สามารถบริหารงานภายในองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งความสุขที่มีการจัดการความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้กันภายในองค์กรเป็นประจำมีความรักสามัคคีของบุคลากร มีพื้นฐานความมีมุทิตาจิตและอุเบกขาของบุคลากรมีการปฏิบัติตามหลักสังคหวัตถุหรือหลักการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข และบุคลากรในองค์กรเป็นผู้ที่มีความสุข แม้ว่าเทศบาลตำบลท่าม่วงจะยังมีปัญหาด้านของภาวะหนี้สินและอบายมุข อย่างไรก็ตาม เทศบาลตำบลท่าม่วงยังไม่สามารถเป็นองค์กรระดับเข้าถึงหรือเป็นองค์กรแห่งประโยชน์สุขได้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านความต่อเนื่องในการดำเนินการ ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลายาวนาน เพื่อให้สามารถมองเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สุขอย่างแท้จริง

References

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์กรบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2542).

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2559). เศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.chaipat.or.th/site_content/item/1309-2010-06-03-09-50-07.html

อภิชัย พันธเสน. (2546). เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงกับการวิเคราะห์ความหมายของนักเศรษฐศาสตร์ สังเคราะห์และเรียบเรียงจากการเสวนาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ: มุมมองของนักเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาเศรษฐศาสตร์.

อภิชัย พันธเสน. (2549). สังเคราะห์องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Best, Shaun. (2001). A Beginner’s Guide to Social Theory. London: Sage.

Ritzer, George. (1993). The McDonaldization of Society: An Investigation into the Changing Character of Contemporary Social Life. London: Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-25