หน้าที่ของรัฐในการจัดการศึกษา: การเสริมสร้างความพร้อม ในการเรียนออนไลน์ของนักเรียน

ผู้แต่ง

  • ปิ่นบุญญา ลำมะนา คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การศึกษา, สิทธิในการได้รับการศึกษา, การเรียนการสอนออนไลน์

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมไทยในปัจจุบันที่มุ่งสู่สังคมแบบดิจิทัลประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด 19 (Covid-19) ส่งผลให้เกิดวิถีการดำเนินชีวิตในด้านศึกษาแบบปกติใหม่ (New Normal) โดยบรรดาสถานศึกษาจะต้องนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์มาใช้ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้เรียนที่ไม่มีความพร้อม ขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพจนอาจทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาเพิ่มขึ้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหน้าที่ตามกฎหมายของรัฐที่จะต้องดำเนินการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพและเท่าเทียม ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนความพร้อมในการเรียนออนไลน์ของนักเรียนด้วย โดยแบ่งประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐเป็น 4 ประการ ได้แก่ การจัดหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การจัดให้มีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การสร้างความตระหนักรู้ถึงการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเหมาะสม และการจัดให้มีระบบการควบคุมดูแลโดยครูผู้สอน ทั้งนี้ก็เพื่อให้นักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาออนไลน์ได้อย่างมีคุณภาพและเท่าเทียมกัน

References

กฤษณา สิกขมาน. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษธุรกิจ โดยการใช้การสอนแบบ

E-Learning. (รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

กองนโยบาย สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานผลการสํารวจข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือน พ.ศ. 2562 ทั่วราชอาณาจักร. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขารายได้/เศรษฐกิจสังคมครัวเรือน/62/ Whole_full_report_62.pdf

ไทยรัฐออนไลน์. (2563). เปิดที่มา "เก๋าดงกล้วย" เด็กอนุบาลตอบชัด หลังครูถามบ้านมีเน็ตไหม. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563, จาก https://www.thairath. co.th/news/society/1845036.

ปัทมา นพรัตน์. (2548). E-Learning ทางเลือกใหม่ของการศึกษา. วารสาร กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 53(167), 15-16.

โพสทูเดย์. (2563). เหลื่อมล้ำ...เรียนออนไลน์ 4.0 เด็กชนบทหลุดระบบการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน2563, จากhttps://www.posttoday.com/ politic/report/624245.

ภัทริกา วงศ์อนันต์นนท์.(2557). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและเยาวชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 173.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2563). New Normal ของการศึกษาไทยคืออะไร เมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบ. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563. จาก https://tdri.or.th/2020/05/desirable-new-normal-for-thailand-education.

สุดปฐพี เวียงสี. (2559). ประเทศไทย 4.0 โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจใหม่. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563, จาก http://www. sudpatapee.com/ index.php/2014-08-15-15-18-27/item/176-4-0.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561 (ไตรมาสที่ 4).

สำนักงานยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562 (Thailand Internet User Behavior 2019).

อาณัติ รัตนถิรกุล. (2553). สร้างระบบ e-learning ด้วย moodle ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-25