การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับผู้มีประสบการณ์ชีวิตในวงจรยาเสพติด
คำสำคัญ:
วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, ผู้ต้องขัง, ยาเสพติดบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับผู้มีประสบการณ์ชีวิตในวงจรยาเสพติด โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการร่วมสร้างการขบคิด ตระหนักรู้ของผู้มีประสบการณ์ชีวิตในวงจรยาเสพติดด้วยความปรารถนาแห่งชีวิตบนฐานจริยธรรมแห่งตัวตน ผ่านการวิเคราะห์ให้เห็น อัตลักษณ์ทางสังคม ภาคปฏิบัติการของเรือนจำกับการบำบัดยาเสพติด จริยธรรมแห่งตัวตนของผู้ต้องขังในฐานะของผู้ถูกบังคับให้บำบัดยาเสพติดในเรือนจำ และพลังอำนาจแห่งการกำกับตัวตนของมนุษย์เพื่อการปลดปล่อยตนเองจากวงจรยาเสพติด ผู้วิจัยจึงเลือกใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่อยู่บนกระบวนทัศน์วิพากษ์ในการร่วมสร้างการขบคิด สร้างการตระหนักรู้ต่อยาเสพติด ชุดความรู้ และภาคปฏิบัติการของอำนาจร่วมกันกับผู้ร่วมวิจัย จำนวน 12 คน ผลการศึกษาเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางความคิดของผู้ร่วมวิจัยต่อสถานการณ์ยาเสพติด ความเข้าใจต่อชุดความรู้ ภาคปฏิบัติการของเรือนจำที่มีต่อผู้ต้องขังคดียาเสพติด และการวางแผนชีวิตของผู้ร่วมวิจัยต่อการกำกับตนเองออกมาจากยาเสพติดโดยมีครอบครัวอยู่เบื้องหลัง และคอยเป็นพลังให้ผู้ร่วมวิจัยเกิดการตระหนักรู้ต่อปัญหายาเสพติด และสามารถที่จะนำตนเองออกมาจากยาเสพติดได้อย่างยั่งยืน
References
กรมราชทัณฑ์. (2560). ส่งระเบียบกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังและการแยกคุมขัง การเลื่อนหรือลดชั้นนักโทษเด็ดขาด การลดวันต้องโทษจำคุก และการพักการลงโทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2562, จาก http://lad.correct.go.th/
กรมราชทัณฑ์. (2563). รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2562, จาก http://www.correct.go.th/rt103pdf/report_result.php? date= 2019-03-01&report=drug,
กรมราชทัณฑ์. (2563). สถิติการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขัง. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2563, จาก http://www.correct.go.th/recstats/
กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แนวทางการดำเนินงานยาเสพติด. สมุทรสาคร: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด
กระทรวงสาธารณสุข. (2560). มาตรฐานการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบควบคุมตัวในระบบบังคับบำบัดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545. สมุทรสาคร: บริษัท บอร์นทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด.
กระทรวงสาธารณสุข. (2560). มาตรฐานการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติด ยาเสพติดระบบต้องโทษในเรือนจำ/ทัณฑสถาน. สมุทรสาคร: บริษัท บอร์น ทู บีพับลิชชิ่ง จำกัด.
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure) การดำเนินงานบำบัดฟื้นฟู ผู้ป่วยยาเสพติด ระบบสมัครใจ กรณีสมัครใจรักษา (ในสถานพยาบาล), (จิตสังคมในสถานศึกษา) และกรณีสมัครใจตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 108/2557. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข, กองบริหารการสาธารณสุข.
กาญจนา บุญยัง. (2558). ชาวนาฆ่าตัวตาย: รัฐ โครงสร้างเศรษฐกิจ และความรุนแรง. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์).
กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2554). การวิจัยเชิงคุณภาพในสวัสดิการสังคม: แนวคิดและวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2555). ทฤษฎีวิพากษ์ในนโยบายและการวางแผนสังคม.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์. (2561). สังคมสงเคราะห์สุขภาพจิตในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชานนท์ โกมลมาลย์. (2560). พื้นฐานสังคมสงเคราะห์สุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชาย โพธิสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.
ทองกร โภคธรรม และนพพร ประชากุล. (2547). ร่างกายใต้บงการ ปฐมบทแห่งอำนาจในวิถีสมัยใหม่.กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
เบญจวรรณ บุญโทแสง. (2559). การสร้างร่างกายที่สยบยอมของผู้ต้องขังหญิงต่ออำนาจในเรือนจำ. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2558). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.
วรรณดี สุทธินรากร. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การวิจัยเพื่อเสรีภาพและการสรรค์
สร้าง Action Research: Freedom and Creativity-Based Research. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2519). จริยศาสตร์เบื้องต้น มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2521). ปรัชญา. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์ จำกัด.
ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์. (2556). การศึกษากฎหมายยาเสพติดในต่างประเทศ: ศึกษาเฉพาะกรณีประเทศญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมัน โปรตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม, สำนักกิจการในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม.
สุดสงวน สุธีสร. (2541). อาชญากรรม: ความหมาย ขอบเขต และทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุทิสา ถาน้อย. (2561). สมองและสารสื่อประสาท ความผิดปกติในภาวะติดสารเสพติด Brain and Neurotransmitters: Abnormalities in Drug Addiction. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์. (2561). ปรัชญาทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2561). อัตลักษณ์ การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. เชียงใหม่: ห้างหุ้นส่วนจำกัดวนิดาการพิมพ์.
อภิญญา เวชยชัย. (2557). การเสริมพลังอำนาจในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Arellano Rubi, Balcazar E. Fabrico , Alvarado Francisco & Suarez Sergio. (2015 December). A participatory Action Research Method in a Rural Community of Mexico. Journal of University of Psychologica. 14(4), 1197–1208.
Galtung Johan. (1990 August). Cultural Violence. Journal of Peace Research. 27(1), 291-305.
Kuhar Michael. (2014). The Addicted Brain. United States of America: Pearson Education, Inc.
Sedgwick Sally. (2008). Kant’s Groundwork of the Metaphysics of Morals. New York: Cambridge University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์