พุทธศาสนากับมโนทัศน์ทางการเมืองสมัยใหม่: อิทธิพลแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของพุทธทาสภิกขุ
คำสำคัญ:
พุทธทาสภิกขุ, เศรษฐศาสตร์การเมือง, การเมืองสมัยใหม่, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นบทความวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีและกรอบแนวคิดเชิงมนุษยศาสตร์ มีจุดประสงค์เพื่อที่จะอธิบายแนวความคิดของพระพุทธศาสนากับมโนทัศน์ทางการเมืองสมัยใหม่ ภายใต้กรอบแนวคิดเรื่องศีลธรรมทางการเมืองสมัยใหม่ และแนวคิดเกี่ยวกับศีลธรรมทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของพุทธทาสภิกขุที่ว่าด้วย “ธัมมิกสังคมนิยม” ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลและปัญหาของแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของพุทธทาสภิกขุที่มีต่อการพัฒนาความเป็นสมัยใหม่ทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจในสังคมไทย
ผลการวิเคราะห์สามารถสรุปได้ว่า ท่านพุทธทาสภิกขุนำเสนอแนวคิดของเศรษฐศาสตร์การเมืองที่นามาใช้เรียกว่า “ธัมมิกสังคมนิยม” กล่าวคือการดำเนินการทางเศรษฐกิจและการเมืองต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของ “ศีลธรรมทางศาสนา” นอกจากนี้ท่านพุทธทาสภิกขุยังปฏิเสธแนวความคิดทางการเมืองที่ดำเนินไปด้วยระบบ “เสรีนิยมประชาธิปไตย” ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดของการพัฒนาการเป็นสมัยใหม่ที่ต้องดำเนินไปด้วยความสัมพันธ์ของระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการตลาดต่างๆ โดยดำเนินการภายใต้กรอบศีลธรรมที่ไม่ต้องอิงอยู่บนหลักการของศาสนาซึ่งเป็นกรอบศีลธรรมแบบสมัยใหม่ ข้อเสนอแนะที่ชัดเจนในบทความนี้คือ อิทธิพลแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของพุทธศาสนาภายใต้การตีความของท่านพุทธทาสนั้นได้ผลิตซ้ำวาทกรรมทางการเมืองและส่งผลโดยตรงต่อนักคิดและนักวิชาการของไทยหลายคนและแนวคิดที่อิงอยู่บนฐานของศาสนานี้เองเป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกับการพัฒนาความเป็นสมัยใหม่ นอกจากนี้แนวคิดของท่านพุทธทาสยังเป็นแนวคิดที่ขัดแย้งภายในตัวเองอยู่หลายประการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของไทย
References
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2541). ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. (2539). พุทธทาสภิกขุกับทฤษฎีธัมมิกสังคมนิยม. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา, 3(2), 29.
ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2557). ความไม่หลากหลายของความหลากหลายทางวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมมติ.
ธิกานต์ ศรีนารา. (2555). การต่อต้านประชาธิปไตยแบบฝรั่ง และสถาปนาประชาธิปไตยแบบพุทธ ของปัญญาชนฝ่ายค้านไทยสายพุทธศาสนาในช่วงระหว่างปี 2524 – 2534. รัฐศาสตร์สาร, 33 (2), 167.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2531). ธัมมิกเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: กลุ่มเศรษฐศาสตร์การเมือง สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปีเตอร์ เอ แจ็คสัน. (2556). พุทธทาสภิกขุ : พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและการปฏิรูปเชิงนวสมัยนิยมในประเทศไท. แปลโดย มงคล เดชนครินทร์. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระดุษฎี เมธังกุโร และคณะ. (2532). การพัฒนาสังคมในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระไพศาล วิสาโล. (2529). พุทธศาสนากับคุณค่าร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พุทธทาสภิกขุ. (2518). ธัมมิกสังคมนิยมแบบเผด็จการหรือสังคมนิยมตามหลักแห่งศาสนาทุกศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมบูชา.
พุทธทาสภิกขุ. (2521). ธรรมะกับโลกจะไปด้วยกันได้หรือไม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมบูชา.
พุทธทาสภิกขุ. (2538). ธัมมิกสังคมนิยม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยามประเทศ.
พุทธทาสภิกขุ. (2549). ธรรมะกับการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
สมภาร พรมทา. (2539). ปรัชญาสังคมและการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรพศ ทวีศักดิ์. (2559). พุทธศาสนากับรัฐ-การเมืองสมัยใหม่ : อิทธิพลทางความคิดของพระพรหมคุณาภรณ์ และพุทธทาสภิกขุ. รัฐศาสตร์สาร, 37(3), 189.
อานวย ยัสโยธา. (2546). ภูมิปัญญาการนำทางสู่เนื้อธรรมของท่านพุทธทาส. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Fred Halliday. (1995). Relativism and Universalism in Human Rights: the Case of the Islamic Middle East, 43(1), 152 - 167.
John Rawls. (1971). A Theory of Justice. Cambridge, Mass.: Harvard University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์