ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในบริบทประชาคมอาเซียน: เงื่อนไขความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศด้านทุนการศึกษา

ผู้แต่ง

  • ชนาใจ หมื่นไธสง สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สุกัญญา เอมอิ่มธรรม สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประภัสสร์ เทพชาตรี สาขาวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ความร่วมมือทางวิชาการด้านทุนการศึกษา, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, ประชาคมอาเซียน

บทคัดย่อ

ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวด้านทุนการศึกษา ได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในช่วงปี ค.ศ.1992 บทความนี้ต้องการศึกษาเงื่อนไขความร่วมมือทางวิชาการด้านทุนการศึกษาระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ในบริบทประชาคมอาเซียน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวนทั้งสิ้น 20 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผู้กำหนดนโยบายไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนผู้นำนโยบายไปปฏิบัติไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นักศึกษาลาวที่จบการศึกษาจากไทยและกำลังศึกษาอยู่ในไทยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012 ถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า เงื่อนไขที่ก่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการด้านทุนการศึกษาระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในบริบทประชาคมอาเซียน ประกอบด้วยเงื่อนไขภายในของไทย คือเงื่อนไขด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เงื่อนไขด้านเศรษฐกิจ เงื่อนไขด้านระบบการศึกษาของไทย เงื่อนไขด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ เงื่อนไขภายในของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ เงื่อนไขด้านนโยบายการรับความร่วมมือระหว่างประเทศของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เงื่อนไขด้านเศรษฐกิจ เงื่อนไขด้านทัศนคติของคนลาว เงื่อนไขด้านการไม่แทรกแซงกิจการภายใน เงื่อนไขภายนอก คือเงื่อนไขด้านบูรณาการในภูมิภาค เงื่อนไขด้านประเทศผู้บริจาค เงื่อนไของค์กรระหว่างประเทศ และเงื่อนไขร่วมของทั้งสองประเทศ คือด้านภาษา ประเพณี และวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ความเป็นบ้านใกล้เรือนเคียง

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (2557). นโยบายการต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557. จาก http://www.mfa.go.th/main/th/policy/9868-นโยบาย การต่างประเทศ.html

กระทรวงการต่างประเทศ. (2555). ความสัมพันธ์ไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ปี 2549 – มิถุนายน 2550, สืบค้นจาก http://www.mfa.go.th/web/2386.php?id=148

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2555). ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community). สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2560, จาก http://www.mfa.go.th/ asean /th/asean-media-center/2395

เชษฐา พวงหัตถ์. (2559). ยุทธศาสตร์ใหม่ของจีนในการเมืองระหว่างประเทศ: ข้อพิจารณาเกี่ยวกับอำนาจแบบอ่อน และการใช้อำนาจอย่างนุ่มนวล. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2560, จาก http://puanghutchetta592. blogspot.com/2016/10/ir-charm-offensive-how-chinas-soft.html

นภดล ชาติประเสริฐ. (2540). การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการของไทยต่อลาว. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีนิพนธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

นรุตม์ เจริญศรี. (2552). ทุนญี่ปุ่น : ภูมิภาคนิยมและภูมิภาคนุวัติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. สืบค้น จาก www.oknation.net/ bloy/print.php?id = 396402

ไพศาล หรูพาณิชย์กิจ. (2553). เอเชียตะวันออก บนเส้นทางสู่การเป็นประชาคม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประภัสสร์ เทพชาตรี. (2555). ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

อรณิช รุ่งธิปานนท์. (2557). ภูมิภาคนิยมกับอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุรชาติ บารุงสุข. (2557). Soft Power. จุลสารความมั่นคงศึกษา. (136-137). สืบค้นจาก http://www.geozigzag.com/pdf/136_137.pdf

สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ. (2551). ยุทธศาสตร์ ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและสปป.ลาว 2009-2011. กรุงเทพฯ: แมควิซาร์จ.

เจ้าหน้าที่ระดับสูง กระทรวงการวางแผนและการลงทุนของสปป.ลาว. (5 พฤศจิกายน 2012). [บทสัมภาษณ์].

เจ้าหน้าที่ระดับสูง ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสปป.ลาว. (6 พฤศจิกายน 2012). [บทสัมภาษณ์].

เจ้าหน้าที่ระดับสูง ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน. (26 มิถุนายน 2013). [บทสัมภาษณ์].

เจ้าหน้าที่ระดับสูง ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีนักศึกษาลาวมาศึกษาต่อสูงสุด. (15 มีนาคม 2013). [บทสัมภาษณ์].

นักการทูตระดับสูง กรมเอเชียแปซิฟิคและอัฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาว. (25 เมษายน 2013). [บทสัมภาษณ์].

นักการทูตระดับสูงจากสานักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ปัจจุบัน กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศไทย. (สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ). (15 กุมภาพันธ์ 2013). [บทสัมภาษณ์].

นักศึกษาลาวที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากไทย. (2 กรกฎาคม 2013). [บทสัมภาษณ์].

นักศึกษาลาวที่กำลังศึกษาอยู่ในไทย. (26 มิถุนายน 2013). [บทสัมภาษณ์].

นักศึกษาลาวที่จบการศึกษาจากไทย. (2 กรกฎาคม 2013). [บทสัมภาษณ์].

สัมภาษณ์นักศึกษาลาวที่กำลังศึกษาอยู่ในไทย. (16 กรกฎาคม 2013). [บทสัมภาษณ์].

นักศึกษาลาวที่จบการศึกษาจากไทย. (12 พฤศจิกายน 2012). [บทสัมภาษณ์].

ผู้เชี่ยวชาญความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสปป.ลาว (คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). (14 กุมภาพันธ์ 2013). [บทสัมภาษณ์].

ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน). (13 กุมภาพันธ์ 2013 ). [บทสัมภาษณ์].

เอกอัครราชทูตไทย ประจากรุงเวียงจันทน์. (28 สิงหาคม 2012). [บทสัมภาษณ์].

อดีตเอกอัครราชทูต สปป.ลาว ประจำประเทศไทย.(2555, 27 สิงหาคม). รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแห่งหนึ่งในคณะรัฐบาล สปป.ลาว. [บทสัมภาษณ์].

อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย. (1 พฤษภาคม 2014). [บทสัมภาษณ์].

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเก่าแก่แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (14 กุมภาพันธ์ 2013). [บทสัมภาษณ์].

Carol, L. (2007). Foreign aid: diplomacy, development, domestic politics. Chicago: The University Press.

Gore C., (2013). Introduction the new development cooperation landscape : actors, approaches, architecture. Journal of International Development. 25, 769–786. Retrieved from http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/jid.2940/pdf

Green, Carl J. (1994). Japan's Growing Leadership in Global Development. SAIS Review, 14(1), 101-118.

Hettne, B. and Söderbaum, F. (2010). The new regionalism approach. Retrieved from http://www.unisa.ac.za/Default.asp?Cmd=View Content&ContentID =11583&P_XSLFile=unisa/accessibility.xsl

Hettne, B. and Langenhove, L.V. (2005). Global politics of regionalism: theory and practice. London: Pluto Press.

Kawai and Takagi (2004). Japan’s official development assistance : recent issues and future directions. Journal of International Development. 16, 255–280.

Mansfield, Edward and Solingen, Etel, Regionalism (2010). Annual Review of Political Science, 13, 145-163, Retrieved from https://ssrn.com /abstract=1691311 or http://dx.doi.org/10.1146/annurev.polisci.13.050807.161356

Niu, C. (2014). China’s educational cooperation with Africa: toward new strategic partnerships. Asian Education and Development Studies, 3 (1), 31-45. Retrieved from http://onlinelibrary.wiley. com/doi/10.1002/jid.2940/pdf

Nye, J.S. (2004). Soft Power: The Means to Success in World Politics: Wielding Soft Power. Retrieved from http://belfercenter. ksg.harvard.edu/files/joe_nye_ wielding_soft_power.pdf

Phuangkasem, K. (1984). Thailand’s foreign relations 1964-80. Singapore: Institute of Southeast Asian studies.

Rigg, J. (2009). A particular place? Laos and its incorporation into the development mainstream. Environment and Planning A, 41(3), 703 -721.

Roberts, C. B., (2012). Laos a more mature and robust state?. Southeast Asian Affairs, 153-168. Retrieved from http://muse.jhu.edu/ journals/southeast_asian_affairs/v2012/2012.roberts.pdf

Sachs, J., McArthur, J.W. and Traub, G.S. (2005). Ending Africa's Poverty Trap. Retrieved from http://www.unmillenniumproject.org /documents/ BPEAEndingAfricasPovertyTrapFINAL.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01