การเพิ่มโทษในความผิดเกี่ยวกับเพศที่กระทาต่อลูกเลี้ยง

ผู้แต่ง

  • ชาญวิสุทธิ์ ต้นมณี กลุ่มงานอาจารย์ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5

คำสำคัญ:

ลูกเลี้ยง, การเพิ่มโทษ, ความผิดเกี่ยวกับเพศ

บทคัดย่อ

ในความผิดเกี่ยวกับเพศที่กระทำต่อลูกเลี้ยง ไม่สามารถนำหลักการเพิ่มโทษตามมาตรา 285 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาบังคับใช้แก่ผู้กระทำความผิดที่มีสถานะเปรียบเสมือนบิดามารดา เช่น พ่อเลี้ยงหรือแม่เลี้ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนคู่ชีวิตของบิดาหรือมารดาของบุตร หรือผู้อุปการะหรือผู้ปกครองที่รับอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้น ทั้งนี้เนื่องจากการกำหนดขอบเขตผู้กระทำความผิดซึ่งต้องเป็นบุพการีตามความเป็นจริง และผู้สืบสันดานจะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ส่งผลให้ผู้กระทำผิดที่เลี้ยงดูบุตรของอีกฝ่ายนั้นมาแต่เด็ก สามารถใช้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจและหน้าที่ของความเป็นบิดาหรือมารดามากระทำความผิดทางเพศต่อลูกเลี้ยงโดยไม่ต้องรับโทษเพิ่มขึ้น อีกทั้งหากเป็นความผิดทางเพศที่กำหนดให้สามารถยอมความได้ ผู้กระทำผิดก็อาจไม่ต้องรับผิดในการกระทำนั้น ในขณะที่กฎหมาย Sexual Offences Act 2003 ของประเทศอังกฤษกำหนดขอบเขตผู้กระทำผิดทางเพศ รวมถึงบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับผู้ถูกกระทำในสถานะเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ซึ่งไม่เฉพาะความสัมพันธ์ที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น แต่รวมถึงบุคคลที่เป็นหรือเคยเป็นพ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง ผู้อุปการะเลี้ยงดู พ่อแม่บุญธรรม หรือบุคคลที่พักหรือเคยพักอาศัยร่วมกัน และการกระทำดังกล่าวถือเป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความได้

References

คณิต ณ นคร. (2525). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคความผิด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จุฬารัตน์ ยะปะนัน. (2553) “ความผิดอาญาแผ่นดินและความผิดอันยอมความได้.” จุลนิติ, 7(2), 152-157.

พิชญาภา เจียมแท้. (2555) ความหมายและมาตรการทางกฎหมายต่อการกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว : ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์. (2551). กฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับเพศ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. (2561). สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.krisdika.go.th/wps/portal/general

ประมวลกฎหมายอาญา. (2561). สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2561, จาก http:// www.krisdika.go.th/wps/portal/general ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2561, จาก http:// www.krisdika.go.th/wps/portal/general

สัญชัย ลัจจวานิช. (2525). คำอธิบายกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับชีวิตและ ร่างกาย. กรุงเทพฯ: แสวงสุทธิการพิมพ์.

เสริมชัย สุดประเสริฐ. (2554) มาตรการเสริมทางอาญาที่เหมาะสมแก่ผู้กระทำความผิดทางเพศที่กระทำต่อบุตรของตนเอง. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. “บุพการี.” สืบค้นเมื่อ 28พฤษภาคม 2561, จาก http://www.royin.go.th.

หยุด แสงอุทัย. (2556) กฎหมายอาญา ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อำพล วงศ์ศิริ. (2555). “มาตรการที่เหมาะสมทางอาญาที่นามาปรับใช้แก่ผู้กระทำความผิดทางเพศ กรณีกระทำต่อบุคคลในครอบครัวเดียวกัน.” เอกสารวิชาการหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 16 วิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม พ.ศ. 2555.

Sexual Offences Act 2003, สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2561, จาก https: //www.legislation.gov.uk/ukpga/2003/42/contents

The family Law Act 1996 สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2561, จาก https: //www.legislation.gov.uk/ukpga/1996/27/contents

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01