ความต้องการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, บุคลากรสายสนับสนุนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 2) เปรียบเทียบความต้องการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดกับข้อมูลทั่วไป และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 117 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และทดสอบค่าเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านความก้าวหน้าทางอาชีพ ด้านการศึกษาต่อ ด้านการฝึกอบรม/สัมมนา และด้านศักยภาพในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ และจากการเปรียบเทียบความต้องการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดกับข้อมูลทั่วไป พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนที่มีระดับการศึกษาและตำแหน่งงานในปัจจุบันที่แตกต่างกัน มีความต้องการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาวิจัย สรุปได้ว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ควรมีการจัดทำแผนเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สายสนับสนุนในทุกด้านอย่างเป็นรูปธรรม เช่น กำหนดกรอบการเข้าสู่ตาแหน่งที่สูงขึ้นให้เป็นรูปธรรม จัดสรรงบประมาณสนับสนุนทางการศึกษา การฝึกอบรมให้ความรู้ในการปฏิบัติงานส่วนต่างๆ เป็นต้น
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). หลักสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัชธรรม์ ณ สงขลา. (2554). ความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสหกรณ์ ออมทรัพย์นาวิกโยธิน จำกัด. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2556). การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พรพิมล รวีวงศ์ไพบูรณ์. (2553). ความต้องการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ส่วนสำนักงานกรุงเทพฯ. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคาแหง).
วนิดา วาดีเจริญ และคณะ. (2556). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ จากแนวคิด ทฤษฎี สู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น.
วรารัตน์ เขียวไพรี. (2550). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development). กรุงเทพฯ: สิรบุตรการพิมพ์.
ศิริพร ไชยชุมพล. (2552). การศึกษาความต้องการของพนักงานเทศบาลตำบลบางปู ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
ศิริรัตน์ มีเดช. (2549). ความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ของอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี).
ศิริรัศมิ์ถา เมืองไชย. (2553). ความคิดเห็นและความต้องการของพนักงานเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงราย).
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2554). การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล = Individual development plan. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
Maslow, Abraham H. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper and Rows.
Yamane, Taro. (1973). Statistic: An Introductory Analysis, 3rd New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์