ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะผู้นำกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง

ผู้แต่ง

  • ขวัญจิรัชยา ชินโรจน์บวรกุล กลุ่มวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุณี หงษ์วิเศษ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ความผูกพันต่อองค์กร, สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ภาวะผู้นำของบุคลากรสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง 2) เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะผู้นำกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ บุคลากรสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง จำนวน 203 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมติฐาน เนื่องจากตัวแปรอิสระที่ศึกษาทั้งหมดมีระดับการวัดแบบช่วงหรืออัตราส่วนและตัวแปรมีระดับการวัดแบบช่วงหรืออัตราส่วนจึงทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามด้วยสถิติ Pearson Product Moment Correlation ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01

ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้ของบุคลากรในเรื่องภาวะผู้นำของหัวหน้างานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง (r = .231) การรับรู้ของบุคลากรในด้านลักษณะเกี่ยวกับหัวหน้างานไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง (r = -.034) การรับรู้ของบุคลากรในด้านลักษณะที่เกี่ยวกับการทางานของหัวหน้างานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง (r = .250) การรับรู้ของบุคลากรในด้านลักษณะความสัมพันธ์ของหัวหน้างานกับบุคคลอื่นมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง (r = .195) การรับรู้ของบุคลากรในด้านลักษณะการให้โอกาสบุคคลอื่นของหัวหน้างานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง (r = .214)

References

กรมศุลกากร. (2559 ก). หน่วยภายในกรมศุลกากร. จาก www.customs.go.th. กรมศุลกากร. (2559 ข). แผนปฏิรูปกรมศุลกากร. จากwww.customs.go.th/data_ files/a878dd03695d2e315 fecb32873815f04/#p=25

กาญจนา นุใจกอง. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การและ พฤติกรรมการทางานในพนักงานระดับปฏิบัติการ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชีวิน อ่อนละออ. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2553). เริ่มต้นอย่างไรเมื่อจะนำ Competency มาใช้ในองค์กร . (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

บุษยาณี จันทร์เจริญสุข. (2548). การรับรู้คุณภาพชีวิตกับความผูกพันองค์การ: ศึกษากรณีข้าราชการสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ปภณ ตั้งประเสริฐ. (2558). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. จาก http://pondpaphon. blogspot.com/2015/09/255 8-leader-leadership.html.

พรนพ พุกกะพันธุ์. (2544). ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.

พันธกร อุทธิตสาร. (2559). ความหมายของการสนทนา. จาก https://sites. google.com/a/thoengwit.ac.th/reiyn-ru-kab-khru-ben/ hnwy-thi-4

พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วันชัย ธรรมสัจการ, และคณะ. (2542). การสร้างเครื่องมือวัดภาวะผู้นำ. วารสารสงขลานครินทร์, 2(5), 150-165.

สมจิตร จันทร์เพ็ญ. (2557). ความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). การศึกษาอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

สามารถ สุขภาคกิจ. (2555). ภาวะผู้นำเต็มรูปแบบกับความผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษาสถานีตำรวจนครบาลบึงกุ่ม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส.

Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63, 1-18.

House, R. J. (1996). Path-goal theory of leadership: Lessons, legacy, and a reformulated theory. The Leadership Quarterly, 7, 323–352.

Koontz , H. and Weihrich . H. (1988). Management. New York : McGraw –Hill.

Kouzes, J. M. & Posner, B. Z. (1995). The Leadership Challenge (2nd ed.). San Francisco CA: Jossey-Bass.

Sheldon, M. E. (1971). Investment and involvement as mechanism producing organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 16, 143.

Trewatha, R.L., & Newport, G. M. (1982). Management. Plano Texas: Business Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-01