พฤติกรรมผู้นำกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงในองค์การ
คำสำคัญ:
องค์การ, การสร้างความเปลี่ยนแปลง, พฤติกรรมผู้นำบทคัดย่อ
พฤติกรรมผู้นำกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงในองค์การมุ่งศึกษา วิเคราะห์การพัฒนาทักษะของผู้นำเพื่อให้สามารถวางแผนการบริหารการเปลี่ยนแปลงระบบงานในองค์การศึกษาการพัฒนากลยุทธ์ในการจัดการ และวิเคราะห์สถานการณ์ในการเลือกใช้ภาวะผู้นำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆในองค์การได้ ดังนั้นขีดสมรรถนะ,คุณลักษณะของผู้นำการเปลี่ยนแปลง, พฤติกรรมผู้นำ และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำกับพนักงาน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกระตุ้นจิตใจ และผลักดันให้สมาชิกในองค์การทำงานบรรลุเป้าหมายขององค์การ การกำหนดคุณสมบัติของพฤติกรรมผู้นำเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในองค์การประกอบด้วย สร้างวิสัยทัศน์กลยุทธ์, การสื่อสารวิสัยทัศน์, การเป็นแบบอย่างของพนักงาน, และการสร้างความผูกพัน ดังนั้นพฤติกรรมของผู้นำจึงมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ต่อความสำเร็จของงานและการขับเคลื่อนองค์การผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงต้องกล้าหาญที่จะทิ้งรูปแบบการทำงานแบบเดิม จะต้องท้าทายความเชื่อและสมมติฐาน เป็นการเรียนรู้จากระบบเก่าเพื่อนำไปสู่แนวทางใหม่ เพื่อความอยู่รอดในอนาคต สิ่งที่สำคัญที่สุดของการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในองค์การผู้นำต้องมีความสามารถเชื่อมโยงประสานการทำงานระหว่างคนกับคนได้ และยังต้องค้นหาแนวทางใหม่ในการกระตุ้นพนักงาน การถ่ายทอดวิสัยทัศน์ และการสร้างวัฒนธรรมการทำงานใหม่ให้เกิดขึ้นในองค์การ
References
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2551). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง. สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยหอการค้า.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
Bass, B. M. (1985). Leadership and Performance Beyond Expectations. New York: Free Press.
_______. (1990). Bass and Stogdill’s Handbook of Leadership. New York: Free Press.
Bass, B. M. and Avolio, B. J. (1994). Improving Organizational Effectiveness through Transformational Leadership. Thousand Oaks, C.A.: Sage.
Berman, E. M. ; Bowman, J. S. ; West, J. P. and Wart, M. V. (2001). Human Resource Management in Public Service : Paradoxs, Process, and Problems. Thousand Oaks, C.A.: Sage.
Chang, Su-Chao and Lee, Ming-Shing. (2007). “A Study on Relationship among Leadership Organizational Culture, the Operation of Learning Organization and Employees’ Job Satisfaction,” The Learning Organization. 14(2),155-185.
Daft, R. L. (1999). Leadership : Theory and Practice. Fort Worth Tex : Dryden Press Heilbrun, I. (1994). “Can Leaders be Studied?,” The Wilson Quarterly.18(2), 65-72
Hersey, Blanchard and Johnson. (1996). Management of organizational behavior: utilizing human resources. Prentice Hall. Lussier, R. N. and Achua, C. F. (2004). Leadership: Theory, Application, Skill Building.(2nded). Cincinnati, Ohio: South-Western College.
McShane, S. L. and Von Gilnow, M. A. (2009). Organizationa Behavior. (2nded). NewYork: McGraw-Hill.
Northouse, P. G. (2007). Leadership: Theory and Practice. (4thed.) Thousand Oaks: Sage.
Robbins, S. P and Judge, T. A. (2007). Organizational Behavior. (12thed). Upper Saddle River N.J.: Pearson/Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์