การจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกในประเทศไทย
คำสำคัญ:
เสรีภาพในการแสดงออก, เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น, การจำกัดเสรีภาพบทคัดย่อ
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองทั้งในกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของรัฐในฐานะเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบอบประชาธิปไตย แต่เสรีภาพดังกล่าวมิใช่สิทธิเด็ดขาด รัฐจึงมีอำนาจในการจำกัดเสรีภาพของประชาชนได้ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 กำหนดหลักการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกไว้ซึ่งถือว่าเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับและนำไปบัญญัติไว้ในเอกสารทางกฎหมายฉบับสำคัญทั้งในทางกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของรัฐ รวมถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 อย่างไรก็ดี การใช้อำนาจรัฐเพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกของประชาชนในหลายกรณีมิได้เป็นไปตามหลักการจากัดเสรีภาพนำมาซึ่งความขัดแย้งและความแตกแยกในสังคมไทย บทความนี้จึงมุ่งวิเคราะห์การจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกของประชาชนในประเทศไทย อันจะช่วยกระตุ้นให้หน่วยงานรัฐตระหนักถึงการเคารพเสรีภาพของประชาชนโดยใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างระมัดระวังผ่านการตีความอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ส่งผลกระทบต่อการใช้เสรีภาพของประชาชนน้อยที่สุดอันเป็นส่วนสำคัญในการลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในสังคมไทย
References
คนไท ก้วนหิ้น. (2554). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลในระบบกฎหมายไทย, วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วนิดา แสงสารพันธ์. (2556). “ขอบเขตของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายใต้ ข้อจำกัดของกฎหมาย”. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 6(2): 20-44.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2543). “เงื่อนไขในการตรากฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน; “มาตรา” ในการควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย”. วารสารนิติศาสตร์, 30(2): 184-194.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยนแห่งชาติ. (2560). รายงานผลการตรวจสอบ ที่ 643/2560 เรื่อง สิทธิพลเมืองอันเกี่ยวเนื่องกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น กรณีเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงมีคำสั่งให้ขบวนการผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (We Move) ยุติการจัดเวทีนำเสนอและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2560, จาก: http://www.nhrc.or.th/ getattachment/de6e32fc-4b2e-4b98-a50c-01ae87c0a4f6/รายงานผลการตรวจสอบ-ที่-643-2560-เรื่อง-สิทธิพลเมือง.aspx
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.ประกาศคณะรักษาความสงบที่ 7/2557. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2560, จาก http:// library2.parliament.go.th/ giventake/content_ncpo/ncpo-annouce7-2557.pdf
_______. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/2558. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2560, จาก http://library2.parliament.go.th/ giventake/ content_ncpo/ncpo-head-order3-2558.pdf.
Center Not-for-Profit Law. The Right to Freedom of Expression:Restrictions on a Foundational Right. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2560, จาก http:// www.icnl.org/research/trends/trends6-1.pdf?pdf=trends6-1
Office of The High Commissioner of United Nations. Human Rights Committee Consideration of the Second Periodic Report of Thailand. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2560, จาก http://tbinternet. ohchr.org/Treaties/CCPR/Shared%20Documents/THA/INT_CCPR_CSS_THA_26519_E.pdf.
_______. List of issues in relation to the second periodic report of Thailand Addendum Replies of Thailand to the list of issues. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2560, จาก: http://docstore.ohchr.org/ SelfServices/FilesHandler.ashx?enc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
ความคิดเห็นในบทความและงานเขียน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้ประพันธ์โดยอิสระ กองบรรณาธิการ วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป หากท่านประสงค์จะนำบทความหรืองานเขียนเล่มนี้ไปตีพิมพ์เผยแพร่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ประพันธ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์